บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน
3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนสั 4) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการสอน ชุดกิจกรรมการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการพัฒนาพบว่า
1. รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างและพัฒนาขึ้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบเชิงกระบวนการมีการดำเนินการ 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 อภิปราย (D : Debate) ขั้นที่ 2 ทบทวน (R : Review) ขั้นที่ 3 ใช้สื่อการสอน (U : Utilizeขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยน (N : Negotiate) ขั้นที่ 5 ขยายความเข้าใจ (E : Expand) ขั้นที่ 6 ตรวจสอบผล (E : Evaluate)
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีพัฒนาการขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียนจากระดับพอใช้เป็นระดับดีเยี่ยม
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด