ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R
และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสุมาลี อุดารักษ์
สถานที่ศึกษา โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันโดยใช้การสลับข้อ เพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t test Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R มี 6 ขั้นตอน และผู้วิจัยได้นำขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R มาสนับสนุนขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ขั้นตอนที่ 1 การอ่านอย่างคร่าว ๆ (Survey - S) ขั้นตอนที่ 2 การตั้งคำถาม (Question - Q) ขั้นตอนที่ 3 การอ่านเพื่อหาคำตอบ (ReadR1) ขั้นตอนที่ 4 การจดบันทึก (Record R2) ขั้นตอนที่ 5 ทบทวน (Recite R3) ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ (Reflect R4) ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) เนื้อหาสาระ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การอ่านอย่างคร่าว ๆ (Survey - S) ขั้นตอนที่ 2 การตั้งคำถาม (Question - Q) ขั้นตอนที่ 3 การอ่านเพื่อหาคำตอบ (ReadR1) ขั้นตอนที่ 4 การจดบันทึก (Record R2) ขั้นตอนที่ 5 ทบทวน (Recite R3) ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ (Reflect R4) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.38/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D = 0.71) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ( = 4.64, S.D = 0.68) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ( = 4.63, S.D = 0.67) ด้านการวัดและการประเมินผล ( = 4.59, S.D = 0.72) ด้านครูผู้สอน ( = 4.53, S.D = 0.67) และด้านเนื้อหา ( = 4.43, S.D = 0.80)