ชื่อรายงาน รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เด็กดีศรีเกาะโตด โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นายพิมล โชติพานิช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เด็กดีศรีเกาะโตด โรงเรียน บ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองซิปป์ ( CIPP MODEL) ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stuffelbeam) มีวัตถุประสงค์และกำหนดขอบเขตการประเมินใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม(Content Evaluation) ได้แก่ การประเมินนโยบายของโรงเรียน หลักการและเหตุผลของโครงการ จุดประสงค์ของโครงการและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ได้แก่ การประเมินสมรรถภาพของโครงการ การออกแบบโครงการ การดำเนินงานของโครงการ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของโครงการและกิจกรรมของโครงการ 3) ด้านกระบวนการ(Input Evaluation) ได้แก่ การประเมินขั้นตอนในการดำเนินงาน การจัดสื่ออุปกรณ์ กิจกรรมภายในกระบวนการดำเนินงาน ข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมโครงการ การสนับสนุนและการนิเทศติดตามของผู้บริหาร 4) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ได้แก่ การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อผลสำเร็จของกิจกรรมโครงการและความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมของโครงการ รวมทั้งการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนจากกิจกรรมของโครงการ โดยมีผู้ประเมินคือครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน
โครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เด็กดีศรีเกาะโตด โรงเรียน บ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วยกิจกรรมในโครงการ จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย 2) กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 3)กิจกรรมโรงเรียนสุจริต 4) กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5) กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 6) กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน 7) กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี 8) กิจกรรมออมทรัพย์ ออมความดี 9) กิจกรรมวันสำคัญ และ 10) กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 17 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครูผู้สอน) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 142 คน และผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 308 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด) มีจำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบประเมิน ด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประเมินโดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน และฉบับที่ 6 เป็นแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนจากกิจกรรมของโครงการ ซึ่งเป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ( ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน (มผ.) ) โดยแบบประเมินแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.880 , 0.834 , 0 851, 0.823 , 0.868 และ 0.898 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ค่าเฉลี่ย (X- ) ค่าร้อยละ ( % )และค่าความเชื่อมั่น
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Content Evaluation) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการประเมิน ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมิน ด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51
5. ผลการประเมินความพึงพอใจทีมีต่อโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เด็กดีศรีเกาะโตด โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
6. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนจากกิจกรรมของโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เด็กดีศรีเกาะโตด โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 90.24 โดยครูผู้สอนประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 85.51 ผู้ปกครองนักเรียนประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 93.12 และนักเรียนประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 92.11