รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ
กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ ปีการศึกษา 2563
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ผู้ประเมินโครงการ นายวิชาติ เดิมหลิ่ม
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งกอ
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 127 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 52 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 56 คน ซึ่งสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท (Context Evaluation)
ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านทุ่งกอ มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน
บ้านทุ่งกอ มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน
บ้านทุ่งกอ มีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้
โรงเรียนบ้านทุ่งกอ ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
1) พฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้ของนักเรียน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยรวม มีพฤติกรรม/การปฏิบัติระดับปานกลาง
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6
ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้ของนักเรียนพบว่า พฤติกรรมการ ออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้ของนักเรียน หลังร่วมโครงการ สูงกว่าก่อนร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
การรับประทานผักและผลไม้ หลังร่วมโครงการ ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป ร้อยละ 100
เมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้ของนักเรียน หลังร่วมโครงการสูงกว่าก่อนร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. โรงเรียนบ้านทุ่งกอควรสนับสนุนปัจจัยการดำเนินงานโครงการฯ ได้แก่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
2. โรงเรียนควรมีการนำผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนา
การดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ และรายงานผลการประเมินกิจกรรม
ต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
4. ควรมีการเผยแพร่และขยายผลโครงการให้กับโรงเรียนต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนบ้านทุ่งกอ ในประเภทต่างๆ เช่น การดื่มนม
การรับประทานขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
2. ควรมีการศึกษาปัญหาการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
3. ควรมีการศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยยึดการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้วยการขยับ กินผักและผลไม้ โรงเรียนบ้านทุ่งกอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1