ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง)
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต. ปกรณ์ คำกอง
หน่วยงาน ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาใน การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) โดยดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ซึ่งจะได้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 2) การศึกษาสภาพปัญหาในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) ซึ่งได้กรอบแนวคิดเชิงปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์ร่างรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) จากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวคิดเชิงปฏิบัติ 2) การตรวจสอบร่างรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน การวิจัยระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ 2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา 2563 จำนวน 543 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษาพบว่า
1.สภาพปัญหาในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) โดยรวมอยู่ในระดับมาก คุณธรรม จริยธรรม ที่มีปัญหาในการพัฒนามากที่สุด 4 ด้าน คือ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และ การมีจิตสาธารณะ ซึ่งผู้วิจัยนำมาใช้ในการออกแบบการวิจัย
2. รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) จากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและกรอบแนวคิดเชิงปฏิบัติ พบว่าเป็นกระบวนการเชิงระบบ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บริบทของสถานศึกษา งบประมาณสนับสนุน ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านกระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม 3 หลักการ หลักการที่ 1 คือ พอประมาณ หลักการที่ 2 คือ มีเหตุผล หลักการที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นำไปสู่ความสมดุลของ 4 มิติ คือด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ตามความต้องการของทุกฝ่ายและโรงเรียนมีรูปแบบในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) พบว่า ผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ราษฎรบำรุง) โดยรวมอยู่ในระดับมาก