ผู้วิจัย นางสาวนิตยา สิงห์ศุข
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดแก้วพิจิตร) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 นักเรียน 26 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 แผน (2) แบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ จำนวน 4 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบประนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับความคิดเห็น ตามแนวคิดของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบ ที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยทุกเล่มเท่ากับ 86.54/84.42 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7604แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.7604หรือคิดเป็นร้อยละ 76.04
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเราสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R
และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา โดยมีค่าเฉลี่ยของของความพึงพอใจโดยรวม เท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก