บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้คือ หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนจำนวน 34 แผน 34 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 20 ข้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 รวมเวลา 34 ชั่วโมง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูต้องการจะมุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา หรือการค้นหาคำตอบของปัญหาที่ถูกต้อง ในส่วนของนักเรียนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อฝึกการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม สมาชิกกลุ่มควรมีทั้งนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อช่วยกันศึกษาหาความรู้ร่วมกัน ช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ความรู้ร่วมกัน และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.1 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล 6) การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 รับรู้และกำหนดปัญหา (Perception and Definition of Problem : P) ขั้นที่ 2 เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action : A) ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้ (Knowledge Construction : C) ขั้นที่ 4 ประยุกต์ใช้ความรู้ (Application : A) และขั้นที่ 5 ประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation : E)
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.51)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.1 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 69.44/68.89 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
3.2 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.70/77.04 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
3.3 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากทดลองภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.90/81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
4. ผลการตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1 รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.12/82.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4.2 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4.4 เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4.5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน PACAE Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.53)