ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุพัฒนุช ตุพิมาย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร กองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
สถานที่วิจัย โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร
ปีที่วิจัย พ.ศ.2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และ
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคารกองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 168 คน และกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร กองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 45 คน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ KWDL 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์
4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พบว่ามีผลวิจัยได้ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคSTAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.99/80.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6897 แสดงว่านักเรียน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 68.97
3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL พบว่า
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (𝑥̅ =25.33, S.D.= 2.14) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 12.82, S.D.=1.57) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยสูงกว่าก่อนเรียน
3.2 ผลการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน (𝑥̅ =25.44, S.D.= 1.56) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 12.78, S.D.= 2.48) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลสรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด