ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ผู้รายงาน : นายสันติ สิงหา
ปีการศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การรายงานการประเมินโครงการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ในครั้งนี้ ใช้ รูปแบบจําลองซิปป์ CIPP (Context Input Process Product Evaluation MModel : CIPP) โดย แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ การประเมิน ด้านปัจจัยนําเข้าของโครงการ การประเมินด้านกระบวนการดําเนินงานของโครงการ และการ ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะก่อนเริ่มโครงการ ระยะประเมินระหว่าง ดำเนินโครงการ และระยะประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจของกลุ่มประชากรซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการครู นักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือแบบสอบถามความ คิดเห็นและแบบประเมินความพึงพอใจ โดยได้กําหนดค่าน้ำหนักคะแนน เป็น 5 ระดับ ตามแบบของ ลิเคิร์ท
ผลรายงานการประเมินโครงการการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง พบดังนี้
ผลการประเมินโครงการประกันคุณภายในสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินทั้งหมดทั้ง 4 ด้านของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารข้าราชการครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.08,σ= 0.14)
1.1 ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ) = 3.87, (σ) = 0.35)
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของ โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( μ = 3.98, σ = 0.49)
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการดําเนินงาน ของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของ โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.30, σ = 0.15)
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของ โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.58, σ = 0.23)
อภิปรายผลการประเมิน
จากผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 มีประเด็นที่น่าสนใจ สมควรแก่การนํามาอภิปรายผล ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ ตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโครงการของ รุ่งทิวา ธราวรรณ (2556 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ ประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร อำเภอ เมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ประเมินโดยใช้รูปแบบ CIPP จากผู้เกี่ยวข้องกับ โครงการจำนวน 55 คน พบว่า ด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมมีสภาพการดําเนินงานอยู่ ในระดับมาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยินดีสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียน โรงเรียน กำหนดโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี และกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้อย่าง ชัดเจน และสอดคล้องกับการประเมินโครงการของวิจิตรา กิตติราช (2559) ซึ่งทำการประเมิน โครงการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโยธินประดิษฐ์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ประเมินจำนวน 415 คน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม มีสภาพการดําเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียน ได้จัดทำโครงการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา โดยมีครูผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในได้ตรวจสอบความ เป็นไปได้ ความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2561 ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ในงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ สอดคล้องกับสภาพความต้องการของสภาพชุมชน สังคมและเป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ โรงเรียนเป็นอย่างมาก ผู้บริหารโรงเรียนได้ประชุมชี้แจงให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการประเมินด้าน สภาวะแวดล้อมของโครงการโดยมีคู่มือการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเป็นแนวทาง จึง เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนําเข้าของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนําเข้า พบว่า ความเหมาะสมของคณะกรรมการดําเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอยู่ใน ระดับมาก และความเหมาะสมด้านวัสดุอุปกรณ์และเอกสารมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโครงการของ รุ่งทิวา ธราวรรณ (2556 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ ประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร อำเภอ เมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ประเมินโดยใช้รูปแบบ CIPP จากผู้เกี่ยวข้องกับ โครงการจำนวน 55 คน พบว่า ด้านปัจจัยนําเข้ามีสภาพการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก โรงเรียน กําหนดการประกันคุณภาพภายในเป็นนโยบายหลัก การประชุมทุกครั้งจะมีการติดตามผล การ ดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหาร ครู ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และสอดคล้องกับการประเมินโครงการของวิจิตรา กิตติราช (2559-บทคัดย่อ) ซึ่งทำการประเมินโครงการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินจำนวน 415 คน พบว่า ด้านปัจจัยนําเข้า มีสภาพการ ดําเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บุคลากร งบประมาณ และวิธี ดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากทุกข้อทั้งภาพรวมและรายด้าน
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนได้พิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มี คณะทำงานเตรียมการ จัดประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนกำหนดแนว ทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหา วัสดุอุปกรณ์ การจัดทำเอกสาร จึงทำให้ปัจจัยตัวชี้วัดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ และความชัดเจนของงบประมาณอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ คณะกรรมการ ฝ่ายต่าง ๆ มีการวางแผนการใช้จ่ายเป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงความประหยัดและคุ้มค่าเป็นสำคัญ
3. ด้านกระบวนการดําเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ ตามความ คิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นผู้ดําเนินงานโครงการประกันคุณภาพเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพ ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ซึ่งได้แก่ การกำหนด มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การจัดระบบบริหารและ สารสนเทศและการดําเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษา การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็น รายงานประเมินคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมมีระดับ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พรพิมล สุขะวัธนกุล (2553 :บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการวิจัยการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแม่พระฟาติมา โรงเรียนสังกัดอัคร สังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยศึกษาจาก ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองเครือข่าย จำนาน 128 คน ตามมาตรฐานคุณภาพภายในทั้ง 8 ด้าน ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนแม่พระฟาติมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ก็พบว่าทุกด้านมีการ ปฏิบัติในระดับมาก ด้านการวางแผนมีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศทางการศึกษาครบทุก ด้าน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม มีการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ - และการประเมินผล
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนได้วางแผนการดําเนินงานของโครงการอย่าง เป็นระบบตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 รวมทั้งรายละเอียดการดำเนินการจากแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโดย ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดําเนินงานโดยเฉพาะคณะกรรมการดําเนินงานโครงการประกันคุณภาพ ภายใน ได้แต่งตั้งตามขั้นตอนที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร โรงเรียน ตัวแทนครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นําชุมชน ผู้แทนองค์กรท้องถิ่น ผู้นําหน่วยราชการใน ท้องถิ่นและผู้นําองค์กรเอกชน เมื่อบุคคลเหล่านี้รวมเป็นคณะกรรมการจะช่วยชี้แนะโอกาสและแนว ปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชน นอกจากนี้ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนได้ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ และมีความจริงจังสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นไปตามขั้นตอน การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติงานไว้ในแผนพัฒนาโรงเรียนแต่ละปี โดยกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนการ ดําเนินงาน มอบหมายความรับผิดชอบแต่ละขั้นตอนให้ตรงตามทักษะและประสบการณ์ของแต่ละคน
4. ด้านผลผลิตของของโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของครู ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบ แบบสอบถามก็มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับผลการประเมินโครงการของ วิจิตรา กิตติ ราช (2559ะบทคัดย่อ) ซึ่งทำการประเมินโครงการจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน 415 คน พบว่า ด้านผลผลิต มีสภาพการดําเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านสภาวะแวดล้อมสอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของโครงการ หลักการและเหตุผล ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้าน ปัจจัย ความเหมาะสมและความเพียงพอของโครงการอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้าน กระบวนการ ในขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและการจัดทำแผนพัฒนาการ จัดการศึกษาของสถานศึกษามุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจัดทำ รายงานการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก อีกทั้งยังสอดคล้องกับ นิรชา ชัยศิริรัตน ดำรง (2554 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของ โรงเรียนในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พบว่า 1) การดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 2) ผลการ เปรียบเทียบการดําเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ในอำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม จําแนกประเภทของโรงเรียนและขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะทั่วไป
จากผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ทั้ง 4 ด้าน ผล การประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงมี ข้อเสนอแนะดังนี้
1. จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบประเมินให้ความสำคัญในเรื่องของความเหมาะสมของ โครงการกับสภาพปัจจุบันและบริบทของสถานศึกษาดังนั้นโรงเรียนควรมีการวิเคราะห์บริบทของ โรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป
2. จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบประเมินให้ความสำคัญในเรื่องเป้าหมายของโครงการ ที่เกิดประโยชน์กับนักเรียน ดังนั้นโรงเรียนควรมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่าง หลากหลายเพื่อให้เป้าหมายการดําเนินงานเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน
3. จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมและ โครงสร้างที่เหมาะสมโดยเน้นระบบคุณภาพดังนั้นโรงเรียนควรมีการวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดโครงสร้าง องค์กรนําไปสู่การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น
4. จากการประเมินพบว่าการสนับสนุนให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขโดยจัดสิ่งอํานวย ความสะดวกสนับสนุนทรัพยากรในการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ดังนั้นสถานศึกษาควร จัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกและทรัพยากรในการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนา การศึกษาต่อไป
5. จากการประเมินพบว่าการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับ ปานกลางเท่านั้น ครูและบุคลากรยังขาดความรู้ในงานระบบประกันคุณภาพ ดังนั้นสถานศึกษาควร พัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยครูและบุคลากรกรต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
จากการศึกษาการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในครั้งนี้ ผู้ประเมินมี ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไปดังนี้
1. ควรจัดทำการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในที่เน้นกระบวนการดําเนินงาน ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
2. ควรมีการจัดประเมินระบบประกันคุณภาพภายในโดยให้บุคคลจากภายนอกพื้นที่บริการขององค์กรมีส่วนร่วมในการประเมิน
3. ควรมีการประเมินประกันคุณภาพภายในที่มุ่งผลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
4. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพ ภายในตามขนาดของโรงเรียน
5. พัฒนาระบบประกันให้เป็นระบบมากขึ้นครูและบุคลากรควรมีความรู้ความเข้าใจใน ระบบงานประกันมากขึ้น