ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPS)
ผู้วิจัย นางสาวพิมพาพร ดวงสินธุ์
วิทยาฐานะที่ขอ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
หน่วยงาน โรงเรียนเหล่างามพิทยาคม
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPS) วัตถุประสงค์การวิจัย 1)เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2)เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น ( 5 STEPS) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น ( 5 STEPS) 4)เพื่อหาประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น ( 5 STEPS) 5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น ( 5 STEPS) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
1)ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะครูที่สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 2)ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเหล่างามพิทยาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 34 ข้อ กำหนดเอาค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9537 2)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 5.00 3) ชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 ชุด มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.31 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ กำหนดเอาค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8237 5)แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.44 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9145 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1)สอบถามสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ทดสอบก่อนจัดกิจกรรมและหลังจัดกิจกรรมก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) และทดสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียน 3)ประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยชุดฝึกทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ตามวิธีของแบรนแนน (Brennan) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) ตามวิธีของโลเวท (Lovett) ใช้สถิติ E1/E2 หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามปัญหาการสอนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ใช้สถิติหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับวิธี Itemtotal Correlation ใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson ใช้สถิติ t-test วิเคราะห์สมมติฐานเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สถิติ E.I. วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า
1. โดยรวมทุกสภานะและทุกด้านมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานะ พบว่า สถานะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ครูเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.38) รองลงมาได้แก่ ครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.35) ส่วนสถานะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 10 ปี ขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.22)
2. โดยรวมแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.95 คิดเป็นร้อยละ 89.20 เมื่อพิจารณาเป็นรายแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.27 คิดเป็นร้อยละ 92.00 รองลงมาได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.18 คิดเป็นร้อยละ 93.00 ส่วนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 และ 9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.64 คิดเป็นร้อยละ 87.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า ร้อยละ 80
3. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 83.88/81.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะ จึงได้เท่ากับ 0.7146 แสดงว่าชุดฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดนี้ ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 71.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
5. การเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบผู้เรียน หลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
6. โดยรวมผู้เรียนชายและผู้เรียนหญิงมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน ด้วยการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.25) โดยผู้เรียนชายมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.28) ผู้เรียนหญิงมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.21) และก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.07) โดยก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ( =0.21) และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.12) และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า ความพึงพอใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้