เรื่อง การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเกาะเคี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ลักษณะผลงาน การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน นางเข็มพวง รอดเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะเคี่ยม
ปีพุทธศักราช 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเกาะเคี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงาครั้งนี้ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ตามรูปแบบการประเมิน โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเกาะเคี่ยม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 101 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนเกาะเคี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดพังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ เก็บข้อมูลด้วยการสอบถาม และทดสอบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-Test)
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ผลการประเมินรวมทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ย 4.65 ผลการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
1. บริบทของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัดมีดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และกิจกรรมในโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินรวมด้านบริบทมีค่าเฉลี่ย 4.71
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัดมีดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเหมาะสมของกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินรวมด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ย 4.62
3. กระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัดมีดังนี้
3.1 การประชุมวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การจัดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนงานที่วางไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 การนิเทศติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน อยู่ในระดับมากที่สุดผลการประเมินรวมด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ย 4.62
4. ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัดมีดังนี้
4.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 หมายถึงผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น
4.2 นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ความพึงพอใจต่อโครงการของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจต่อโครงการของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจต่อโครงการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูอยู่ระดับมากที่สุดผลการประเมินรวมด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ย 4.72
ข้อเสนอแนะ
1.โรงเรียนควรมีการประเมินผล มีการนิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม ร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอก และมีการเผยแพร่ ขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
2. พัฒนา ส่งเสริมและคงไว้ซึ่งลักษณะปฏิบัติการดังกิจกรรมที่ดำเนินการในโครงการต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง มีความยั่งยืน
3. โรงเรียนควรนำรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบขั้นตอนของกิจกรรมทุกขั้นตอน และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน แก้ปัญหาหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน