ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3
ผู้วิจัย นางสร้อยสุดา เนระมา
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปีที่รายงาน พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดย 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 2) ศึกษาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 42 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ/แนวคิด 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 4) ผลที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ โดยกระบวนการจัดการเรียน
การสอน แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การสอนแบบผสมผสาน มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นเข้าสู่บทเรียน ขั้นทำกิจกรรม ขั้นนำเสนอ และขั้นสรุปผล 2) การสอนแบบร่วมมือ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นสอน ขั้นทำกิจกรรม ขั้นตรวจสอบผลงาน และขั้นสรุปผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.29/81.75 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก