ชื่อเรื่อง โครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมินโครงการ นายเทวินทร์ โตไทยะ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่ประเมินโครงการ 2562
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ด้านบริบทของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
3) ด้านกระบวนการของโครงการ 4) ด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่การประเมิน 4.1) ด้านผลกระทบ 4.2) ด้านประสิทธิผล 4.3) ด้านความยั่งยืน และ 4.4) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และ 5) ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของสตัฟเฟิลบีมและซิงค์ฟิวด์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 186 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 186 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 5 ชุด เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ชุดที่ 1 จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.34 0.86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.89 ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 1.00 ชุดที่ 2 จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 0.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.88 ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ชุดที่ 3 จำนวน 18 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.86 ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 ชุดที่ 4 จำนวน 35 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.93 ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ชุดที่ 5 จำนวน 18 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 0.64 ค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.87 ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา
2562 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด 2) ผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด 3) ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด 4) ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ พบว่า มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด
5. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการเสริมสร้างฐานความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับมากที่สุด