ชื่อผลงานทางวิชาการ การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่
21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายบำรุง ป้องนาทราย
สถานศึกษา โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
ปีที่จัดทำผลงาน 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พฤติกรรมการสอน ผลงานการพัฒนาการเรียนการสอนความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครู ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 34 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนหนองโนประชาสรรค์จำนวน 175 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 3) นักเรียน จำนวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นนักเรียนระดับชั้นละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบทดสอบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความต้องการ ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 พบว่าผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การเตรียมองค์กรเพื่อการเรียนรู้ 2) การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานร่วมกัน 4) เป้าหมายร่วม
3. ผลการนำรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ ๒๑ โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ไปใช้ ในด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก ด้านความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านพฤติกรรมการสอนของครู พบว่า ครูมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ความเข้าใจ และทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก ด้านผลงานการพัฒนาการเรียนการสอนของครู พบว่าครูมีผลงานสอดคล้องกับบทเรียนอยู่ในระดับมาก ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครู พบว่า ครูมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและมีการพัฒนาตนเองมากขึ้น
4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
TITLE : The Development of Professional Learning Community to develop
Potential of teaching management of teachers in the 21st century
AUTHOR : Mr. Bumroong Pongnasay
PLACE : Nongnoprachasan School
YEAR : 2017
ABSTRACT
The purposes of this study were 1) to study the problem and the need of professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school. 2) to development of professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school. 3) to study the effect of professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school in terms of cognition and ability of professional learning community, cognition and learning management in the 21st century, teaching behavior, the product of learning development, cooperation and exchanging work experiences of teachers and students learning achievement. 4) to assess the satisfaction of professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school.
The source of information were 34 administrators and teachers by purposing sampling. The sample were 175 students from Nongnoprachasan school by using Krejcie and Morgan (1970). The informants were 2 administrators, 8 teachers and 6 students by purposing sampling. The research tools were questionnaire and test. Frequency, mean, percentage and standard deviation were used to analyze.
The finding : were
1. The problem of professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school toward administrators and teachers were at moderate level while the need of profession learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century toward administrators and teachers were at highest level.
2. There were factors; 1) organization preparation 2) shared values and vision 3) shared learning and practice 4) shared purpose
3. The understanding of teachers toward professional learning community to develop potential of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school toward Teachers cognition and ability of professional learning community of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school was at highest level. Teachers behavior was at high level. Teachers cognition and learner centered ability was at high level. The product of learning development of teachers was at high level. The students learning achievement were gradually higher every year. The participation and development of teachers was higher.
4. The satisfaction toward professional learning community of teaching management of teachers in the 21st century at Nongnoprachasan school was at highest level.