ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายพรอยันย์ สะหะดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เกี่ยวกับทักษะด้านอาชีพ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานจากวัสดุท้องถิ่น 4.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสานจากวัสดุท้องถิ่น ก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4.2) เปรียบเทียบทักษะอาชีพก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4.3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t test (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมตัวให้พร้อม สร้างบรรยากาศให้นักเรียนสนใจในการทำกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ใช้เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยการสนทนาโต้ตอบ ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม เป็นขั้นทบทวนเนื้อหาสาระเรื่องที่จะเรียนรู้ โดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น จากประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่
ขั้นที่ 3 ปรับเปลี่ยนความคิด มี 3 กิจกรรม 1) ทำความกระจ่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นขั้นที่ครูแนะนำวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้นักเรียนทราบ วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการสอนแต่ละชนิดที่มีในชุมชนและสร้างอาชีพ 2) การสร้างความคิดใหม่ เป็นขั้น ที่ครูนำเสนอเนื้อหาสาระใหม่ที่ต้องการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ เกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นเร้าให้นักเรียนคิดหาวิธีทำ คำตอบตามเรื่องที่สอนสืบค้นด้วยสื่อที่เป็นของจริง การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ ภาพ เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบของกลุ่มจากการพูดคุยกับภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พิจารณา ข้อมูล ที่ได้รับโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจ สังเกต หรือทดลองและสรุปข้อมูล ซึ่งครูจะเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ 3) ประเมินความคิดใหม่ เป็นขั้นที่นักเรียนนำเสนอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากสิ่งที่ค้นพบโดยการออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน จัดแสดงผลงานของกลุ่มบนป้ายนิเทศหรือ มุมแสดงผลงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
ขั้นที่ 4 ขั้นนำความคิดไปใช้ เป็นขั้นที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามความรู้เกี่ยวกับการทำการสานจากวัสดุท้องถิ่น หรือปัญหาที่นักเรียนพบและต้องการแก้ไขเพื่อนำไปใช้ในคราวต่อไป
ขั้นที่ 5 ทบทวน เป็นขั้นที่ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย จากเรื่องการสานจากวัสดุท้องถิ่นที่นักเรียนได้ลงมือทำ
2. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80) และความคิดเห็นของครูผู้สอนในวิชาการงานอาชีพ ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา การงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะอาชีพหลังใช้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การสานวัสดุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด