ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา กฤตพร พงษ์เสดา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 75 / 75 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม จำนวน 4 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.49 ถึง 0.78 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 (4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.925 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 79.14 / 79.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ที่เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6161 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 61.61
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของนักเรียน จึงเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้