ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพส่งเสริมทักษะภาษา (พูด)
ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา วนิดา ประมาณ
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพ ส่งเสริมทักษะภาษา (พูด) ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะภาษา (พูด) ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนบ้านทุ่งคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ส่งเสริมทักษะภาษา (พูด) โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพ จำนวน 34 แผน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4วัน วันละ 1 แผน แผนละ 20นาที หนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพส่งเสริมทักษะภาษา (พูด) ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม และแบบประเมินทักษะภาษา (พูด) เป็นแบบประเมินแบบเลือกตอบ ชนิด 2 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.69 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t–test แบบ Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1) หนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพส่งเสริมทักษะภาษา (พูด) ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.64/82.72ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 จึงนับได้ว่าหนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพส่งเสริมทักษะภาษา (พูด) เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้
2) ทักษะภาษาพูดของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือนิทานคำคล้องจองประกอบภาพ สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ