ชื่อโครงการ การประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมิน นางทองมัน สิทธิกัน
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิตโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 222 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 52 คน นักเรียนจำนวน 152 คน รวมทั้งสิ้น 222 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด คือ ชุดของผู้บริหาร,ชุดของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ชุดของครูผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ,.95 และ.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การดำเนินงานโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก)
ด้านบริบท ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน ในส่วนของครูผู้สอนมีความเห็นว่า ด้านผลผลิต
มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน เมื่อวิเคราะห์
ในระดับลึก พบว่า การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์โครงการมีความชัดเจน มีความเหมาะสม และโครงการสอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา อีกทั้งคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง สอดคล้องกับนโยบายของเทศบาล นโยบายของสำนักการศึกษา ความสอดคล้องโครงการ สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา ในส่วนครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักการศึกษา
การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม
สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คืองบประมาณมีการนำมาใช้ทันเวลา
ด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร พบว่า รายการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรมีความเข้าใจตรงตามลักษณะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการโครงการ และผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ งบประมาณมีการนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ มีการนำมาใช้ทันเวลา เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจกรรมมีความพอเพียง และด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนของครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ บุคลากรมีความกระตือรือร้นและมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงานของโครงการ สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ อัตราค่าตอบแทนวิทยากรในการปฏิบัติหน้าที่มีความเหมาะสม เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารต่างๆ ตลอดจนสื่อการเรียนรู้ ป้ายนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเพียงพอ ในส่วนด้านการบริหารจัดการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสม และระยะเวลามีความเพียงพอในการดำเนินงาน ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมมีความหลากหลาย
การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า มีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุนโครงการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็น
อยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น มีการประเมินผลก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ มีการประเมินผลระหว่างดำเนินกิจกรรมโครงการ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของครูผู้สอน
มีความคิดเห็นการปฏิบัติด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการ
ดำเนินงานพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสำรวจความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนการวางแผนกิจกรรมโครงการ มีการกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงการไว้อย่างชัดเจนก่อนการนำไปปฏิบัติและการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมทั่วถึง และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอย่างชัดเจน ในด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีเครื่องมือการประเมินผลที่เหมาะสมกับกิจกรรม และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด ได้แก่ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น ส่วนด้านการสรุปรายงานผล รายการที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ
มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม
การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน
มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ความหลากหลายของกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดขึ้น และความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ผู้บริหาร/หัวหน้าโครงการ มีการให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ
ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 98.08 เข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดขึ้นซึ่งผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีจำนวนครูผู้สอนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ80
ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 100 ได้ผลการประเมิน ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้นผลการประเมินประสิทธิภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมากกว่าร้อยละ 80 ได้ผลการประเมินผ่านระดับดีขึ้นไป ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ดังนั้น ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปี 2561 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้