สุนิสา ชมภูฆัง. (2563) แนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่อง
เชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563
ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาโดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method) การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน แบบสอบถามแนวทางการส่งเสริมและแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (∝-Coefficient) ทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี มีการปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 ด้านที่มีการให้บริการ ในระดับมาก คือ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการเสนอขอรางวัลคุรุสดุดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 รองลงมา คือ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการเสนอขอรับรางวัล ครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ และมีการประชาสัมพันธ์การเสนอขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ประกาศนียบัตร ครูอาวุโส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 และการให้การบริการในระดับ ปานกลาง ลำดับสุดท้าย คือ การติดต่อประสานงานกับคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ได้สะดวกและรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17
2. แนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี
2.1 ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า แนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี พบว่า การปฏิบัติทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ด้านที่มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ การคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 รองลงมา คือ การคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 การคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลคุรุสภา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 การคัดเลือกรางวัลครูผู้สอนดีเด่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 การจัดงานวันครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 การคัดเลือกครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ กว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 การขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ประกาศนียบัตร และเงินช่วยเหลือครูอาวุโส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18
2.2 ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าแนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ควรมีการประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทาง มีแบบฟอร์มเอกสารเป็นตัวอย่างในการกรอกเพื่อขอรับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน มีคู่มือที่เป็นแนวทางเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
3. ความพึงพอใจต่อแนวทางการส่งเสริมเพื่อขอรับรางวัลและเครื่องหมายการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2563 ของคุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ด้านที่มีความพึงพอใจมาก คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้การบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 รองลงมา คือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ การยกย่องเชิดชูเกียรติครู ควรเน้นครูที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ไม่ควรเน้นการประเมินจากเอกสารเป็นหลัก ควรมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมสัมมนา เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ เช่น นิทรรศการต่าง ๆ นิทรรศการของครูที่ได้รับรางวัลระดับชาติ นิทรรศการผลงานรางวัลและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของคุรุสภา และควรเพิ่มช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายและทั่วถึง โดยเฉพาะผ่านสื่อออนไลน์ (Social Media) ที่สามรถเข้าถึงได้ง่าย