ชื่อวิจัย กลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
ชื่อผู้วิจัย นางณัฐธยาน์ ชมภูน้อย
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 2) พัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้อํานวยการหรือ รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้ง 4 วิชา จำนวน 3 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาและร่างกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ขั้นตอนที่ 3 การนำกลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ไปใช้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การนำกลยุทธ์ไปใช้ กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครูโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิเคราะห์ผลโดยการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการนำกลยุทธ์ไปใช้กลุ่มเป้าหมายในตอนที่ คือ ผู้บริหาร ครูโรงเรียนชุมชน บ้านท่างาม นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษากลยุทธ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่ามี 6องค์ประกอบ คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การสร้างกลยุทธ์ (Strategy) การวางแผน (Planning) การลงมือปฏิบัติ (Do) การทบทวนสะท้อนผล (See) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Redesign) โดยความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ประกอบด้วยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการยกระดับทั้ง 6 กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ (Analysis) การสร้างกลยุทธ์ (Strategy) การวางแผน (Planning) การลงมือปฏิบัติ (Do) การทบทวนสะท้อนผล (See) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Redesign) และนำไปสร้างคู่มือ พบว่าผลการประเมินกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มี ความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการใช้กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีดังนี้
3.1 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชน บ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำแนกรายวิชา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าโรงเรียน มีคะแนนผลการทดสอบเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2563 อย่างน้อย 2 รายวิชา จำนวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2563 โดยมีจำนวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจำนวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 อย่างน้อย 2 รายวิชา
3.2 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อกลยุทธ์การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนชุมชนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด