ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูใน
สถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ผู้วิจัย นางสมกมล วรรณทอง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่
ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์เขต 42 เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมี
วัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมส าหรับ
ครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์2) เพื่อสร้างและพัฒนา
หลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตร
การเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ขั้นตอนดังนี้คือ ขั้นตอนที่
1 การศึกษาสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูใน
สถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติ
หน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
และขั้นตอนที่ 3 การประเมินคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่
ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้ ได้แก่ ครูผู้ช่วยโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2562
จ านวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ ครูผู้ช่วยโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2563 จ านวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพ และความต้องการการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์2) แบบประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์และ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อประเมินคู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ข
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้ช่วยมีความต้องการ ในการเตรียมความพร้อมส าหรับในการปฏิบัติหน้าที่ครูใน
สถานศึกษา โรงเรียนสตรีนครสวรรค์เรียงตามล าดับความส าคัญดังนี้ คือ 1) ต้องการคู่มือ และ
แนวทางในการปฏิบัติราชการ 2) ต้องการทราบระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปฏิบัติราชการ
3) ต้องการแนวทางการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 4) ต้องการ
ได้รับการปฐมนิเทศ และการนิเทศจากครูพี่เลี้ยงแบบกัลยาณมิตร
2. หลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษาด้วย
กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์พบว่า มีรูปแบบขั้นตอน
วิธีการพัฒนา 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นปฐมนิเทศ 2) ขั้นปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
3) ขั้นสังเกตการณ์สอน 4) ขั้นนิเทศการสอน 5) ขั้นครูผู้ช่วยพบกลุ่มด้วยกระบวนการ PLC
6) ขั้นประเมินผล และ 7) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่
ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
นครสวรรค์ ในการทดลองใช้ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับคุณภาพระดับดีมาก
(x̄= 4.50, S.D. = 0.38)
4. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่
ครูในสถานศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
นครสวรรค์ ในการศึกษา ปีการศึกษา 2563 พบว่า ระดับคุณภาพระดับดีมาก
(x̄= 4.58, S.D. = 0.24)
5. คู่มือหลักสูตรการเตรียมความพร้อมส าหรับครูผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษา
ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวม
เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.70, S.D. = 0.11)