ชื่อเรื่อง ผลการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย นางเสาวนีย์ ปอยี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R และ (2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 20 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R (2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และ (3) แบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 หลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) เจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
คำสำคัญ วิธีการสอนแบบ SQ4R ความเข้าใจในการภาษาอังกฤษ เจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษประถมศึกษา
Thesis title: The Effects of the SQ4R Teaching Method on Reading
Comprehension and Attitudes towards English Reading of Prathom Suksa VI Students of Rajprachanukro 6 School in Nakhon Si Thammarat Province
Researcher: Miss Saowanee Poyee
Academic year: 2017
Abstract
The purposes of this research were (1) to compare the results of reading Comprehension of Prathom Suksa VI students of Rajprachanukro 6 School in Nakhon Si Thammarat province before and after learning under the Effects of the SQ4R Teaching Method; and (2) to compare the attitudes towards English reading before and after learning under the Effects of the SQ4R Teaching Method.
The research sample consisted of 20 Prathom Suksathis VI Students studying in the first semester of the academic year 2015 at Rajprachanukro 6 School in Nakhon Si Thammarat Province, obtained by cluster random sampling. The research managements were (1) learning management plans for the SQ4R Teaching Method, (2) an English reading comprehension test, and (3) an attitudes towards English reading form. Statistics for data analysis were the mean, standard division, and t-test.
Research findings showed that (1) the post-learning English reading comprehension of Prathom Suksa VI students of Rajprachanukro 6 School, who learned under the SQ4R teaching method, was higher than their pre-learning counterpart achievement at the .05 level of significance; and (2) the post attitudes towards English Reading, who learned under the SQ4R teaching method, was higher than their pre-learning.
Keywords: The SQ4R Teaching Method, Reading Comprehension, Attitudes towards English Reading, Prathom Suksa