ผู้วิจัย นางจีรวรรณ ปานนูน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนว การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ศึกษาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 3 ศึกษาผลการใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม) จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และ ขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 2) แบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุก สามารถส่งเสริมสมรรถนะ ทางวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน มีการสืบเสาะหาความรู้ บูรณาการใช้เทคโนโลยี ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและผู้ชี้แนะ ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติรับผิดชอบและกำกับการเรียนรู้ของตนเอง มีการสะท้อนคิดเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้น และมีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงจากการปฏิบัติ ผู้เรียนมีความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ มีความสามารถประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และมีความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์
2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ชื่อว่า PACR Model มีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (P : Planning) ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการแก้ปัญหา/สำรวจตรวจสอบ (A : Action) ขั้นที่ 3 เชื่อมโยง (C : Connection) และขั้นที่ 4 การสะท้อนคิด (R : Reflection) มีผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.36, S.D. = 0.58) และการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6143
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนว การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก
4. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด