การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของครูในโรงเรียน วัดเขมาภิรตารามที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมสภานักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อ พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะ การจัดกิจกรรมสภานักเรียน ของครูและนักเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและ ความต้องการของในการพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน ระยะที่ 2 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร สภานักเรียน เพื่อ วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหาร กิจกรรมสภา นักเรียน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ จากประชากรครู จ านวน 204 คน นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จ านวน 346 คน โดยใช้การ สุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของครูโดยวิเคราะห์หาค่า ดัชนี PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการของในการพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน โรงเรียนวัดเขมาภิรตารามมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.27
2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน โรงเรียนวัดเขมาภิรตา ราม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน ประกอบด้วย หลักการบริหาร 3 ด้าน คือ การวางแผน การจัดองค์กร การควบคุม และกิจกรรมสภา นักเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ทักษะภาวะผู้น า การ สร้างเครือข่าย การมีจิตอาสาหรือ ส านึกสาธารณะ 2) คู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภา นักเรียน โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน ของครูและนักเรียน มีรายละเอียดดังนี้
1) ผลการพัฒนาทักษะของครูในการจัดกิจกรรมสภานักเรียนหลังการใช้รูปแบบการ บริหารเพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนา ทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ .01
2) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมสภานักเรียน สูงกว่า ก่อน การใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมสภานักเรียน อยู่ ในระดับมากที่สุด