บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
(2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
(3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดแก้วพิจิตร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน ขอบเขตด้านนวัตกรรม ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จำนวน 20 แผน (รวมแผนการปฐมนิเทศและแผนการปัจฉิมนิเทศ อีก 2 แผน)
(2) แบบประเมินความสามารถในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ งานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบ ที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากครูผู้สอนมีความคิดเห็นตรงกันว่า ควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เนื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นของนักเรียนที่ต้องใช้ใน การดำรงชีวิตและต้องนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.37 มีคุณภาพระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.23/83.15 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
4. หลังจากการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.00) จำนวน 20 คน และความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50) จำนวน 17 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยงานเกษตร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจโดยรวม เท่ากับ 4.33 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก