บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนระหว่างเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดแก้วพิจิตร) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 นักเรียน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยวิธีการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ (4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับความคิดเห็น จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบ ที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 88.63/83.15 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ
ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6691 แสดงว่า นักเรียนมีความสามารถในการเรียนเรียนรู้เพิ่มขึ้น
0.6691 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.91
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการปฏิบัติงาน หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งด้านวิธีการ (Process)
และด้านผลงาน (Product) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยงานบ้าน เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจโดยรวม เท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก