บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียน วัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินปริบท (Context Evaluation : C) ของการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation : I) ของการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 (3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ของการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ (4) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation : P) ของการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 113 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 49 คนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 49 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 59 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 6 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้แทนผู้บริหารได้อยู่ในส่วนที่เป็นครูผู้สอนแล้ว ผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 23 คน และนักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 23 คน ซึ่งนักเรียนมีศักยภาพในการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินและการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงตรงเนื้อหาและ วิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผล
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียน วัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 สามารถสรุปผลดังนี้
ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียน วัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียน วัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ด้านปริบท (Context Evaluation : C) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation : I) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียน วัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ด้านผลผลิต (Products Evaluation : P) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม New DLTV ของโรงเรียนวัดพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ด้านผลผลิต (Products Evaluation : P) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจ ของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมากที่สุด