การวิจัยนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) โดย ใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง
การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียน
นางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก จำนวน 28 คน โดยรูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) สื่อการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก 2) แบบทดสอบก่อนเรียน การเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก 3) แบบทดสอบหลังเรียน การเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน คาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่า t-test และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
จากกระบวนการที่ผู้วิจัยได้ออกแบบชุดสื่อการเรียนการสอน ให้มีการปรับประยุตก์ใช้สื่อ ที่นักเรียนสามารถเข้าถึง และมีกิจกรรมร่วมกับครูผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ ถือเป็นสื่อการสอนที่สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงบวก โดยเนื้อหาจะถูกจัดในประเด็น การวิเคราะห์ปัญหา ในรายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี โดยกระบวนการในสื่อการสอนที่สำคัญคือ การออกเนื้อหาของบทเรียน ให้สอดคล้องกับความสามารถของแอปพลิเคชันคาฮูท (Kahoot Application) โดยรูปแบบที่นำมาใช้คือ การสร้างชุดเกมตอบคำถาม เพื่อเก็บคะแนน ในเกมมีการแสดงคำตอบที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมกี่คน ตอบตัวเลือกไหนกี่คน ตอบถูกทั้งหมดกี่คน ตอบผิดทั้งหมดกี่คน และมีการคิดคะแนน ที่แตกต่างกัน ถึงแม้นักเรียนจะตอบถูกเช่นกัน แต่คะแนนจะมีการให้ค่าน้ำหนัก ตามความเร็วในการตอบ ทำให้การเล่นเกมตอบคำถามมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชุดสื่อการสอนดังกล่างประสบผลสำเร็จในการนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน สะท้อนได้จากระดับความพึงพอใจของผู้เรียน
และจากการใช้สื่อการสอนชุดนี้ พบว่าเมื่อนักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามสื่อการสอน มีระดับผลสัมฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในระดับที่ดีขึ้นโดยมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking โดยการวัดจากแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) ผลการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 15 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการทดสอบหลังเรียนในระดับผ่าน (เกินร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม) รวมจำนวนทั้งสิ้น 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย +7.18 คะแนน ร้อยละของคะแนนสอบหลังเรียนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ +35.9 จากสถิติที่ยกมาแสดงข้างต้นสะท้อนชัดเจนว่า การใช้ชุดสื่อการสอนดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้กับนักเรียนในเนื้อหาประเด็นที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถสรุปได้ว่าจากผลการประเมินดังกล่าวแสดงให้เห็นข้อชัดเจนประเด็นที่ว่า สื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชันคาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก สามารถเป็นนวัตกรรมการสอนที่ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจในเนื้อหาวิชา และสนุกกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการมากกว่าการบอกท่องจำ โดยเห็นผลจากผลด้านการใช้นวัตกรรมดังกล่าวที่แสดงมาข้างต้น
และในส่วนของความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียน ผู้วิจับพบว่า สื่อการสอนชุดนี้ได้รับผลการประเมินในระดับความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 4.65 เมื่อเทียบตามระดับคุณภาพที่ระบบในแบบประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเมื่อพิจารณาแยกย่อยในแต่ละประเด็นพบว่าประเด็นที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุดได้แก่ การตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ด้านที่ 2 ด้านรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.76 โดยผู้วิจัยพิจารณาจากผลการประเมินดังกล่าวเห็นว่าเป็นผลมาจาก การใช้สื่อการสอนชุดนี้ ครูต้องจัดกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชันคาฮูท ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ ผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเกมตอบคำถาม มีการแสดงผู้ชนะ ในแต่ละรอบ ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และเข้าใจในเนื้อหาของบทเรียนได้เป็นอย่างดี และในด้านรองลงมาคือ ด้านที่ 3 ด้านรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.71 สะท้อนถึงการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน นักเรียนสามารถเข้าถึงกิจกรรมการเรียนการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ครอบคลุมเนื้อหา ครูผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถควบคุมกิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ และสามาระร่วมกิจกรรมได้อย่างลงตัว โดยภาพรวมนั้นสามารถสรุปให้เห็นได้ว่ากระบวนการสอนตามชุดกิจกรรมดังกล่าวได้ปรับบทบาทระหว่างผู้เรียนและครู ซึ่งข้อนี้ถือเป็นข้อดีที่ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนถูกแปรเปลี่ยนไปจากครูผู้สอนคอยบรรยาย แต่กลับเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และคอยดูแลให้คำปรึกษาในการเรียนรู้ของผู้เรียน ในส่วนด้านรูปแบบเนื้อหา มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน สะท้อนถึง ความครอบคลุมของเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย โดยในชุดกิจกรรมไม่ได้มีการระบุเนื้อหาการเรียนรู้เป็นข้อ ๆ แต่เป็นการจำลองสถาณการณ์ปัญหาที่ใกล้เคียงกับตัวผู้เรียน ทำให้เกิดความสนุกและท้าทายในการเรียนทั้งนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์กรอบของเนื้อหาจากคำอธิบายรายวิชาและผลการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้มุ่งให้เกิดกับผู้เรียนโดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นองค์ประกอบ สะท้อนได้ว่าสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชันคาฮูท (Kahoot Application) วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี ) เรื่อง การระบุปัญหาตามแนวคิดแบบลีน Lean Thinking สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษกนี้ เป็นนวัตกรรมทางการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และมีความพึงพอใจในการใช้งานมากที่สุด