ผู้วิจัย ดร. ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ปีที่ทำวิจัยสำเร็จ พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยแบ่งเป็นระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ในการสัมภาษณ์ จำนวน 40 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน การประชุมกลุ่ม (Focus Group) จำนวน 8 คน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มเป้าหมายในการร่างรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 10 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นครู ระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าเฉลี่ย ( : Means) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. : Standard Deviation) ค่าร้อยละ (%: Percentage) และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ครูระดับประถมศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ โดยใช้หนังสือเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูเป็นศูนย์กลาง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการจัดกิจกรรม ขาดความหลากหลาย และไม่เน้นการปฏิบัติ นิยมใช้แผนการจัดการเรียนรู้สำเร็จรูป โดยจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา ควรมีรูปแบบที่เหมาะสม ออกแบบให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วม มีการนิเทศการเรียนการสอน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างกัน เชื่อมโยงกับผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ อีกทั้งความต้องการที่จะให้สำนักงานเขตพื้นที่สนับสนุน เพื่อเพิ่มสมรรถนะครู ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย
2) ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา พบว่ารูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) กลยุทธ์
(4) กระบวนการนิเทศ (5) ขั้นตอนการปฏิบัติการ (6) บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนิเทศ (7) การประเมินผลการนิเทศ
มีคู่มือการใช้รูปแบบอย่างชัดเจน และกระบวนการนิเทศอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการประเมินสภาพ (A-Assessing)
การวางแผน (P-Planning) การชี้แนะ (C-Coaching) การสังเกต (O-Observing) การเสริมกำลังใจ (R-Reinforcing) และการประเมินผล (E-Evaluating) จึงเรียกโดยย่อว่า AP-CORE Model โดยมีกรอบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับประถมศึกษา 4 ด้าน ดังนี้ 1) หลักสูตร 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) สื่อและเทคโนโลยี 4) การวัดและประเมินผล ซึ่งในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูใช้กลยุทธ์ดังนี้ การศึกษาด้วยตนเองของครู (Self Study) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร(Information Communication Technology) การอบรมพัฒนา และฝึกปฏิบัติ (Workshop and Training) และการทบทวนหลังปฏิบัติ (After Action Review) โดยที่รูปแบบมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.61 , S.D. = 0.48 )
3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า
3.1) ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับประถมศึกษา ( = 38.70 , S.D. = 0.750) ซึ่งสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.26 , S.D. = 0.44)
3.3) สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจด้านหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตร วางแผนเพื่อการแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ สามารถออกแบบ และใช้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เลือกและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และชั้นที่รับผิดชอบ มีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตร อีกทั้งเป็นการประเมินตามสภาพจริงด้วย
3.4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32 , S.D. = 0.47)