ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นางสุมาลี อมรแก้ว
ปี พ.ศ. ที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ตามแนวคิด CIPPEST Model ประกอบด้วย 1) ด้านบริบท (Context Evaluation : C) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) 5) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation : I) 6) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) 7) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) และ 8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) ประชากรและตัวอย่างวิจัยประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทองอินทร์ 2) ครูผู้สอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ และ 4) ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการของงานวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่า แบบสอบถามมีคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงอยู่ในระดับสูง
ผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ของ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทองอินทร์ 2) ครูผู้สอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ และ 4) ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้องการจัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1ทั้ง 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านบริบท (Context Evaluation : C) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) 5) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation : I) 6) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) 7) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) และ 8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) พบว่า ทุกองค์ประกอบการประเมินมีผลการประเมินอยู่ในระดับที่ผ่านเกณฑ์ นั่นคือค่าเฉลี่ยมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ขึ้นไปทุกองค์ประกอบและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 20 ทุกองค์ประกอบเช่นกัน ( M ≥ 3.5, C.V. ≤ 20) แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Abstract
The objective of the research title of the evaluation project of learning enhancing achievement at national level of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 were evaluate the project of students quality improvement on the national academic achievement (Ordinary National Education Test : O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school and schools under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 using CIPPEST Model. Which including are 1) Context Evaluation : C 2) Input Evaluation : I 3) Process Evaluation : P 4) Product Evaluation : P 5) Impact Evaluation : I 6) Effectiveness Evaluation : E) 7) Sustainability Evaluation : S and 8) Transportability Evaluation : T. Population and samples used in this study consist of 4 groups consisted of 1) administrators of school 2) related teachers of schools 3) the 6th-grade students of school and 4) related parent of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1. Data were collected with 5-rating scales questionnaire about learning enhancing achievement project at national level of the 6th-grade students of Ban Thong IN. The questionnaire were tested the content validities form 5 experts and reliabilities founded that the questionnaire had a high quality of content validity and reliabilities.
The result of the evaluation project of learning enhancing achievement at national level of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 were that the administrators, the related teachers , the 6th-grade students of school and the related parent of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 by 8 factors consisted of 1) Context Evaluation : C 2) Input Evaluation : I 3) Process Evaluation : P 4) Product Evaluation : P 5) Impact Evaluation : I 6) Effectiveness Evaluation : E) 7) Sustainability Evaluation : S and 8) Transportability Evaluation : T. found that the project of learning enhancing achievement at national level of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1, as a whole and each aspects, the operation were at high level and pass the criteria.
The mean of evaluation score was greater than or equal to 3.5 or more for all factors and the coefficient of variation is less than 20% of all factors as well (M ≥ 3.5, C.V. ≤ 20).
The research findings were that the project of learning enhancing achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 at national level is efficiency and effectiveness