ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นางสุมาลี อมรแก้ว
ปี พ.ศ. ที่ทำวิจัย 2562 - 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (Ordinary National Education Test : O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (research and development) มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านทองอินทร์และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และ 3) เพื่อตรวจสอบผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 (R1) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านทองอินทร์และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ตัวอย่างวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความต้องการจำเป็นที่มีการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา และความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและวิธี Modified Priority Needs Index (PNI modified)
ระยะที่ 2 (D1) แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และการสร้างและพัฒนา (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ ฯ โดยผู้วิจัยอ้างอิงจากทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ฯ ประกอบกับองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ 2) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านทองอินทร์และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และ 3) การถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี
ระยะที่ 3 (R2) การทดลองใช้ (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ ฯ เป็นการลงพื้นที่ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ผู้วิจัยวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 และถอดบทเรียนผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติที่พัฒนาขึ้น
ระยะที่ 4 (D2) การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ ฯ และการพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ ฯ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
ผลการวิจัยดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI modified) แบบปรับปรุงพบว่า องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์และประเมินความต้องการสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีค่า PNI เท่ากับ 0.184 ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนมีค่า PNI เท่ากับ 0.156 และองค์ประกอบที่ 4 การจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนมีค่า PNI เท่ากับ 0.151 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบที่ 6 การกำกับและติดตามผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีค่า PNI น้อยที่สุด (PNI modified = 0.143) จึงเป็นองค์ประกอบที่มีลำดับความความสำคัญในการพัฒนาน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จำเป็นต้องพัฒนาการวิเคราะห์และประเมินความต้องการสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นอันดับแรก
2. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า 2T2S Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาศักยภาพครู (Teachers Perseverance) องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ (Teaching and Learning Process) องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (School Environment) และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ (School Community Network) และผลการประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมผู้เชี่ยวชาญลงความคิดเห็นว่าทุกองค์ประกอบของรูปแบบมีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติในระดับมากและระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบที่ 2 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ (Teaching and Learning Process) และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ (School Community Network) มีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินมากที่สุด (M = 4.67, S.D. = 0.33, 0.58) รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (School Environment) (M = 4.60, S.D. = 0.43) และองค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาศักยภาพครู (Teachers Perseverance) (M = 4.47, S.D. = 0.61) ตามลำดับ
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 43.51, SD. = 14.62) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับพอใช้ (M = 39.64, SD. =11.41) และส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 จำแนกตามรายวิชาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของทุกรายวิชา ได้แก่ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศของ
ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 ยกเว้นรายวิชาคณิตศาสตร์ โดยในรายวิชาภาษาไทยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 (M = 62.53 และ 50.85, SD. = 18.52 และ 14.42) ตามลำดับ สำหรับในรายวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 มีค่าคะแนนเฉลี่ยในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 เช่นกัน (M = 38.24 และ 33.25, SD. = 12.33 และ 13.78) ตามลำดับ สำหรับในรายวิชาภาษาต่างประเทศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 มีค่าคะแนนเฉลี่ยในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 เช่นกัน
(M = 32.50 และ 30.56, SD. = 17.70 และ 10.35) ตามลำดับ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 ของรายวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 40.79, SD. = 20.16) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2562 อยู่เพียงเล็กน้อย (M = 43.89, SD. = 16.14) แต่อย่างไรก็ตามคะแนนเฉลี่ยของรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์มีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศค่อนข้างมาก (M = 29.99)
เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนะดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2562
และปีการศึกษา 2563 ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (independent sample
t-test) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ในปีการศึกษา 2562
และปีการศึกษา 2563 พบว่า ค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเฉลี่ยของนักเรียนในปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกรายวิชา (p < .05) ยกเว้นรายวิชาคณิตศาสตร์
4. ครู นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทองอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1ในระดับมากและมากที่สุด
Abstract
Title The Model of Students Quality Improvement on the National Academic
Achievement in the 6th-Grade Students of Ban Thong IN School under
Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1
This research used research and development method. The objectives of this research were 1) to analyse the current status and needs assessment for the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school and schools under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 2) to create and develop the model of students quality improvement on the national academic achievement in the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 and 3) to check the quality of results for using the model of the students quality improvement on the national academic achievement in the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1
Research methods consisted of 4 phases. Phase 1 (R1) Need assessment of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school and schools under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1. The samples used in this study were school administrators and teachers of schools under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1. Data were collected with the needs assessment form that were tested the content validities, reliabilities, and construct validities. The data were analyzed by using the Priority Needs Index (PNI), modified format method.
Phase 2 (D1) Guidelines of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade student and building and development the model (draft) of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1. This phase, the researcher based on the theory of student quality development and also the knowledge gained from this research study consists of the pharse 1 result and the issues for interviewing school administrators and teachers of the Best Practice schools about the students quality improvement on the national academic achievement. Then drafting the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1.
Phase 3 (R2) Trial the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1.
Phase 4 (D2) Testing the quality of the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1. This model were used for trial in Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1.
The research findings were as follows:
1. For the result of the needs assessment for the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school and schools under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1, the Modified Priority Need Index (PNI Modified) indicated that studying and determining the needs for students quality improvement was the highest (PNI modified = 0.184) especially studying and analyzing the problem status of the students national academic achievement. The following need was developing teachers and officers (PNI modified = 0.156) especially determining suitable goals and duration for the students quality improvement on the national academic achievement. The 3rd need was building the team for the students quality improvement (PNI modified = 0.151) especially enhancing professional learning community (PLC) of teachers and officers about the students quality improvement on the national academic achievement. The monitoring and evaluation for improving the students was the lowest (PNI modified = 0.143)
2. The model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 consisted of 1) Teachers Perseverance 2) Teaching and Learning Process 3) School Environment and 4) (School Community Network. For the result of congruent and appropriate assessment for factors of the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 from five experts is shown that the overall were congruent and appropriate at high and the highest level. the highest mean average factor was Strategy for learning process and Strategy for community collaboration (M = 4.67, S.D. = 0.33, 0.58) and following by Strategy for creating media (M = 4.60, S.D. = 0.43) and Strategy for teacher (M = 4.47, S.D. = 0.61)
3. The result of using the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 showed that the mean average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 in overall of academic year 2563 were at moderate level (M = 43.51, SD. = 14.62) that were higher than academic year 2562 were at fair level (M = 39.64, SD. =11.41) The mean average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 in each subject of academic year 2563 were a higher than academic year 2562 except Mathematics subject. The mean average score of Thai language subject of academic years 2563 were higher than academic year 2562 (M = 62.53 and 50.85, SD. = 18.52 and 14.42). The mean average score of Science subject of academic years 2563 were higher than academic year 2562 (M = 38.24 และ 33.25, SD. = 12.33 และ 13.78). The mean average score of English language subject of academic years 2563 were higher than academic year 2562 (M = 32.50 และ 30.56, SD. = 17.70 และ 10.35) and the mean average score of Mathematics subject of academic years 2563 were at moderate level (M = 40.79, SD. = 20.16) that were slightly lower than academic year 2562 (M = 43.89, SD. = 16.14). However, the mean average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 in Mathematics subject of academic years 2563 were higher than the national mean average score (M = 29.99)
The comparison of the average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 in academic year 2562 and academic year 2563 via independent sample t-test found that the average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 in academic year 2563 was higher than academic year 2562 and was statistically significant at .05 level (p < .05). Moreover, there were statistically significant at .05 level in the term of the of the average score of Ordinary National Education Test (O-NET) of the 6th-grade students of Ban Thong IN school of all subject (p < .05) except Mathematics subject.
4. Teachers, Prathomsuksa 6 students and their parents were satisfied with the model of the students quality improvement on the national academic achievement of the 6th-grade students of Ban Thong IN school under Prachuapkirikhan Primary Education Service Area 1 on the high and highest level.