ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงโรงเรียนวังนกไข่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน นายราชัน ขวัญสวัสดิ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวังนกไข่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ IPO Model (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2528: 200-202 อ้างใน พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร, 2548: 24-27) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินผลผลิต (Output Evaluation) และเพื่อประเมินความพึงพอใจของ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวังนกไข่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่รวมผู้บริหารและผู้แทนครู) จำนวน 7 คน รวม 16 คน กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วยครูและบุคลากรจำนวน 9 คน รวม 9 คน กลุ่มที่ 3 เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านความพึงพอใจของโครงการ ประกอบด้วย ครู
และบุคลากรจำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน(ไม่รวมผู้บริหารและผู้แทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 17 คน รวม 50 คน เนื่องจากประชากรมีจำนวนไม่มากจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ฉบับที่ 1 ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ฉบับที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ฉบับที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) และฉบับที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากประชากรกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านปัจจัย (Input Evaluation) ของโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยสถานที่สําหรับใช้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้ง 6 กิจกรรมตามโครงการ มีความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
2. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ มีการประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานแก่คณะทำงานของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ พบว่า มีผลการพัฒนาทักษะชีวิตอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ นักเรียนสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
4. การประเมินความพึงพอใจ สรุปได้ว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยความพึงพอใจ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด