ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายอภิวัฒน์ จตุรพันธุ์สถาพร
พุทธศักราช 2563
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบ
การสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและ
โรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี ๒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 89 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและ
โรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่า
ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล
ผลการรายงานปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี ๒ เท่ากับ 87.36/87.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7218 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.18
3. คะแนนประเมินผลหลังการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผลก่อนการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.61 ทั้งนี้เพราะ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น