ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุภาพร พิมพ์ชารี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล ใช้ระเบียบวิธี การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D & D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร 3) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 15 แผน แบบวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผล มีลักษณะเป็นแบบทดสอบปฏิบัติจริง จำนวน 5 ชุด ชุดละ 8 ข้อ รวมทั้งสิ้น 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับปฐมวัย พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ ขาดการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ ขาดสื่อช่วยในการจัดกิจกรรม ใช้การบรรยายและใบงานเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีแนวทางการประเมินนักเรียนที่ชัดเจน ครูเห็นความจำเป็นที่จะพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก สิ่งที่จะมาส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กคือ ครู กระบวนการหรือรูปแบบการจัดกิจกรรมและสื่อ และแนวคิดและทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า 1) แนวคิดของเพียร์เจต์ กระบวนการเรียนรู้ทางสติปัญญาเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการ การซึมซับหรือดูดซึม (Assimilation) ข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ ไปเชื่อมโยงกับโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม เป็นเหตุให้โครงสร้างเดิมสร้างเปลี่ยนไป แต่หากไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่กับประสบการณ์เดิม เข้ากันได้ก็จะเกิดภาวะไม่สมดุล (Disequilibrium) ซึ่งจะใช้กระบวนการปรับสภาวะ (Accommodation) เข้าช่วย 2) แนวคิดของบรูเนอร์ กระบวนการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) เชื่อว่า เด็กอายุประมาณ 4 7 ปี มีความสามารถที่เข้าใจความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มานุษยวิทยา และสังคมศาสตร์บางอย่างได้ ขั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ การเรียนรู้ด้วยการกระทำ การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการ และการเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์ 3) แนวคิดของไวก็อตสกี ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการ เด็กจะเรียนรู้จากการได้รับคำแนะนำ ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเมื่อพัฒนาการมากขึ้น ความคิดถูกแสดงให้เห็นออกมาผ่านทางภาษา 4) แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สอมองเป็นฐาน การเรียนรู้ที่โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป้นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยไม่สกัดกั้นการทำงานของสมอง แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด และจากการศึกษางานวิจัยและความคิดเห็นของครูปฐมวัย ได้องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ต้องส่งเสริม ได้แก่ ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเรียงความ และทักษะการสรุป
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด เชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัย หรือ B-R-A-I-N Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะกระบวนการ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นปลุกสมอง (Boosting : B) 2) ขั้นระบุและเชื่อมโยง (Remarking and Relating : R) 3) ขั้นค้นหาคำตอบ (Acquiring : A) 4) ขั้นสรุปผล (Inferring : I) และ 5) ขั้นนำเสนอผล (Notifying : N) และผลจากการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 เด็กปฐมวัยที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล มีทักษะการคิดเชิงเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
1.4 เด็กปฐมวัยมีความความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.59, S.D. = 0.14)