ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2562-2563
ผู้วิจัย นางสาวจรรยา เจ๊ะเหยง
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2562-2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และหลัง การพัฒนาปีการศึกษา 2563 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 และหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 3) เพื่อศึกษาทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 25635) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน โรงเรียนบ้าน เกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 และหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน ผู้นำชุมชนบ้านเกาะพะลวย ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating) และแบบผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาและระดับชาติ จำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพ การพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามผลการดำเนินงานการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้าน เกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้าน เกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ฉบับที่ 6 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ฉบับที่ 7 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2562 และสิ้นสุดปีการศึกษา 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับคุณภาพการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อคุณภาพการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ก่อนการพัฒนาในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย ( = 2.45, S.D. = .49) ส่วนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.55, = .42 , = 2.55, S.D. = .45 และ = 2.53, S.D. = .49) ตามลำดับ ภายหลังการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน และครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.82, S.D. = .33, = 4.60, = .45) ส่วนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ มาก ( = 4.42, S.D. = .65, = 4.40, S.D. = .67) ตามลำดับซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ระดับการดำเนินงานการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้าน เกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อผลการดำเนินงานการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม นักเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.46, S.D. =.49 ,  = 3.50,  = .42 และ = 3.24, S.D. = .29) ส่วนผู้ปกครอง อยู่ในระดับ มาก ( = 3.52, S.D. = .47) ภายหลังการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.88, S.D. = .30, = 4.69,  = .40, = 4.54, S.D. = .47) ตามลำดับ ส่วนผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = .66) ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ตามความคิดเห็นของนักเรียนและครู หลังการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมนักเรียนและครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = .61) และ (= 4.39, = 0.54) และภายหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนและครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = .46) และ (= 4.67, = .44) ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
4. พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง หลังการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมนักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.33, = 3.82,  = 0.58, = 4.49, S.D. = 0.54) และภายหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.42, = 4.74,  = 0.45, = 4.69, S.D. = 0.42) ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ต่อการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะพลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมนักเรียน ครู ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = .57, = 3.85, = 0.54, = 3.70, S.D. = 0.49, = 3.68, S.D. = 0.41 และ = 3.52, S.D. = 0.45) ภายหลังการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน PHALUAI MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ( = 4.76, S.D. = 0.45, = 4.66, = 0.51, = 4.65, S.D. = 0.40, = 4.52, S.D. = 0.50, , = 4.31, S.D. = 0.57) ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563
6.1 คะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกระดับชั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 โดยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงสุด (+7.99) รองลงมา ได้แก่ ประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยพัฒนา (+6.51) และประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่มีค่าพัฒนา (-1.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงสุด (+7.06) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระฯ ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยพัฒนา (+4.06) กลุ่มสาระฯ ที่มีค่าเฉลี่ยพัฒนาต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มสาระฯ สังคมศึกษาฯ (+1.46) ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน
6.2 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านเกาะพลวย ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกระดับชั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 มีค่าพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าพัฒนาสูงสุด (8.94) รองลงมา ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าพัฒนา (4.76) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่มีค่าพัฒนา (-3.89) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนาสูงสุด โดยมีค่าพัฒนา (+12.93) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระฯ สุขศึกษาฯ มีค่าพัฒนา (+6.83) กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระฯ ภาษาอังกฤษ ไม่มีค่าพัฒนา โดยมีค่าเฉลี่ย (-0.87 และ -9.47) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องตามสมมติฐาน