ชื่องานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับ
การใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย : นางดวงใจ งามศิริ
สาขาวิชา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาโครงการ ก่อนและหลังเรียน การใช้รูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีผลการใช้รูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ วิชาโครงการ 2) แบบประเมินรูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ วิชาโครงการ 3) แบบประเมินผลการเรียนรูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ วิชาโครงการ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบพลิกกลับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับ
การใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) วิชาโครงการ รหัสวิชา 3204-8501 จำนวน 6 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 หลักการเบื้องต้นของโครงการ หน่วยที่ 2 หลักการเลือกหัวข้อโครงการ หน่วยที่ 3 การสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ หน่วยที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงาน หน่วยที่ 5 การสรุปผลรายงานผลโครงการ และหน่วยที่ 6 การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการที่ผู้วิจัยได้ผลิตขึ้น มีความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนอยู่ในระดับดีมาก (¯("X" )= 4.42 , S.D. = .157 ) 2) รูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
มีประสิทธิภาพ 81.79/82.33 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโครงการ รหัสวิชา 3204-8501 มีผลการทดสอบก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.31 คะแนน คะแนนทดสอบ
หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 104.38 คะแนน ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 61.07 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีผลการใช้รูปแบบการเรียนแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) วิชาโครงการ ในระดับดีมาก (¯("X" )=4.51 , S.D. = .512)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 การใช้รูปแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) ในรายวิชาโครงการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรมีรายละเอียดหรือข้อมูลที่เป็นภาพประกอบในการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาก่อนเข้าห้องเรียน
1.2 การนำความรู้รูปแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning) ครูต้องมีการศึกษาเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ เช่น ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสนับสนุนให้ครูเตรียมความพร้อมก่อนจัดการเรียนรู้
1.3 ผู้เรียนมีความชอบในการเรียนในลักษณะนี้ เพราะสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเรียนได้หลายๆ ครั้ง การส่งงานก็สะดวก และรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้ เพราะครูผู้สอนใช้ Google Classroom ในการส่งงาน ผู้เรียนสามารถได้ทราบถึงผลการประเมินและคำชี้แนะหรือแนวทางในการแก้ไขได้ตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว
1.4 ครูผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีแบบออนไลน์ต่างๆ ครูสามารถจัดกิจกรรมไว้ให้ผู้เรียนได้ศึกษา และมีทักษะตลอดเวลา ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองได้หลายๆ ด้าน เช่น การคิดปฏิบัติงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีส่วนร่วมในการทำงาน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อย่างมีความสุข
1.5 ผู้เรียนสามารถดำเนินการจัดทำผลงานนวัตกรรม สามารถสอบถามครูผู้สอน ตลอดจนมีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร สามารถช่วยกันระดมสมอง สามารถร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพื้นฐานความรู้ทางการจัดทำผลงาน หรือนวัตกรรมในรายวิชาโครงการ ด้วยรูปแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
2.2 ควรมีการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรม กับวิชาอื่น ๆ โดยใช้รูปแบบพลิกกลับ (The Flipped Classroom) ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบค้นพบ (Discovery Learning)