ชื่องานวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
ผู้เรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
ชื่อผู้วิจัย ว่าที่ร้อยเอกคุณาวุฒิ ศรีสุวรรณ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของผู้เรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 12 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารวิชาการกับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัด
นครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 ปีการศึกษา 2563 จำนวน
ทั้งสิ้น 197 คน ก าหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีไม่ใช่ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) ด้วย
การเลือกเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือแบบสอบถาม เป็น
มาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS For Windows สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Average)ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson s
Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 โดยรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติระดับดีเมื่อ
พิจารณารายด้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติด้านกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เป็นอันดับแรก
รองลงมา ด้านกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านกลุ่มงานโครงการพิเศษ ด้านกลุ่มงานศูนย์บริการ
วิชาการ ด้านกลุ่มงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและแหล่งเรียนรู้ด้านกลุ่มงานประกันคุณภาพ ด้านกลุ่ม
ทะเบียนวัดผล และด้านกลุ่มงานสำนักงาน เป็นอันดับสุดท้าย
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05