1. ชื่อนวัตกรรม การบริหารงานวิชาการ ด้วย IS-POSDCoRB เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
2. ชื่อผู้สร้างชื่อ นางชลิกา...................... นามสกุล หูทิพย์............................ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนห้วยยางวิทยา......เขต/อำเภอ ทับสะแก.........จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์......
3. แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม
แสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่างๆ ที่เคยมีผู้สร้างหรือ ทำไว้แล้ว แล้วนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาใหม่
4. ประเภทของนวัตกรรม
การบริหารจัดการศึกษา
5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนห้วยยางวิทยาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมที่ 2.98 (เอกสารประกอบในภาคผนวก) ซึ่งอยู่ในคุณภาพปานกลาง หากพิจารณาร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการเรียนในระดับดีขึ้นไปหรือเกรด 2.5 ขึ้นไป ไปมีเพียง 77.56 ซึ่งนโยบายจากต้นสังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีระดับคุณภาพเกรด2.5 ขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้หากพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2562 พบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 32.32 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ย 36.30 นอกจากนี้หากพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นรายบุคคล จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่าผู้เรียนที่มีผลการทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ขึ้นไปยังมีจำนวนน้อยและมีเพียงแค่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59.26 (เอกสารประกอบในภาคผนวก) ด้วยเหตุนี้โรงเรียนจึงต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมของโรงเรียนให้สูงขึ้นและยกระดับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและพัฒนาผลการทดสอบรายบุคคลของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ให้มีจำนวนสูงขึ้น จึงได้มีการจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยกำหนดลงในแผนปฏิบัติการประจำปี และในปีการศึกษา 2563 เนื่องจากโรงเรียนห้วยยางวิทยาได้เข้าร่วมโครงการ TFE เป็นรุ่นที่ 2 โรงเรียนได้รับการอบรมและขยายผลการเข้าร่วมโครงการจากโรงเรียนรุ่นที่ 1 ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครูที่เข้ารับการอบรมขยายผลให้กับครู บุคลากรในโรงเรียน จึงดำเนินโครงการและขับเคลื่อนโดยเน้นใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) บูรณาการร่วมกับ PTCS model ใช้การปรับประยุกต์ตามบริบทและความเหมาะสมของรายวิชาที่ครูผู้สอนนำไปใช้สอน โดยเน้นที่การส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร
จากผลสัมฤทธิ์และผลการทดสอบระดับชาติย้อนหลังที่ผ่านมาโรงเรียนต้องการพัฒนาด้านวิชาการจึงเป็นที่มาในการพัฒนานวัตกรรม “การบริหารงานวิชาการ ด้วย IS-POSDCoRB เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ” ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIS: Management Infotmation System) ร่วมกับทฤษฎีการบริหารจัดการในยุคคลาสสิคซึ่ง Luther Gulick & Lyndal Urclick ได้เผยแพร่ในเอกสารทางวิชาการในปี ค.ศ.1937 ที่กล่าวถึงภารกิจที่ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งข้าพเจ้านำมาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนห้วยยางวิทยา
6. วัตถุประสงค์
1. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2563 ให้สูงขึ้น
2. เพิ่มผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้น
2.1 ค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.2 ค่าเฉลี่ยรายบุคคลที่มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 สูงขึ้น
7. กลุ่มเป้าหมาย
ประชากร
ครู บุคลากรโรงเรียนห้วยยางวิทยา ทั้ง 8 กลุมสาระฯ จำนวน 22 คน
ผลการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
จากการพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิชาการ ด้วย IS-POSDCoRB เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ในปีการศึกษา 2563 พบว่า
โรงเรียน
1. โรงเรียนมีการจัดก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบในรูปสารสนเทศที่สะดวกต่อการใช้งาน
2. โรงเรียนนำการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเป็นแนวทางการจัดก็บข้อมูลสารสนเทศด้านอื่นๆ
ผู้บริหาร
1. มีข้อมูลสารสนเทศที่นำมาประกอบการวางแผนและตัดสินใจได้รวดเร็ว คล่องตัว
2. เกิดการพัฒนานวัตกรรมในการบริหารงานวิชาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานอื่นๆ
ครู บุคลกร
1. ครู บุคลากรสามารถนำข้อมูลสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบมาใช้พัฒนาการสอนของตนเองได้ตรงตามเป้าหมาย
2. ลดภาระงาน การจัดทำเอกสารข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน
นักเรียน (เอกสารประกอบในภาคผนวก)
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2563 สูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2562
2. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2562 หากพิจารณารายข้อพบว่า
2.1 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2562 (+6.18)
2.2 ผลคะแนนรายบุคคลของการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีที่มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 จำนวนสูงขึ้น (+40.74)
2.3 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2562 (+2.94)
2.4 ผลคะแนนรายบุคคลของการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีที่มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 จำนวนสูงขึ้น (+26.37)