ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
ผู้วิจัย นางจิรนันท์ แก้วจันทา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน และระยะที่ 3 การนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน ไปใช้และการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า สภาพปัจจุบันในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.51, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากและปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านมนุษยสัมพันธ์ ( = 3.61, S.D. = 0.30) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ( = 4.81, S.D. = 0.25) และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ได้แก่ 1) ด้านมนุษยสัมพันธ์ 2) ด้านความเชื่อมั่น ในตนเอง 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 4) ด้านทักษะการแก้ปัญหา 5) ด้านความเสียสละ 6) ด้านความรับผิดชอบ และ 7) ด้านวิสัยทัศน์แห่งผู้นำ ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน มีการดำเนินตามทฤษฎีระบบประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input) โดยผ่าน กระบวนการ (Process) มีขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ มีวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน มีวิธีการประเมินกิจกรรมการเสริมสร้าง เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ (Output) ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้าง 3 หน่วยกิจกรรม ดังนี้ ชุดกิจกรรมที่ 1 มิตรภาพ ตนเองและการแก้ปัญหา
ชุดกิจกรรมที่ 2 ผู้พิทักษ์คุณธรรม ชุดกิจกรรมที่ 3 ผู้นำยุค 5.0 ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคู่มือรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า ด้านความเหมาะสม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้ โดยภาพรวมมีอยู่ ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียน บ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 พบว่า
3.1 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน หลังการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียนสูงกว่าก่อนการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 24.88 คิดเป็นร้อยละ 83.73 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน
3.2 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียน มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะผู้นำ คะแนนประเมินรวม 2,643 คะแนน จากคะแนนประเมินเต็มรวม 3,120 ได้คะเฉลี่ยรวม 132.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.17 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน
3.3 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนตามรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักเรียน โรงเรียนบ้านอิตื้อดอนหวายขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.42
TITLE Development of Learning Promotion Model to Leadership
Enhancement for Student in Ban E - Teudonwaikamin School,
Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1
AUTHOR Mrs. Jiranun Keawjunta Position: Senior Professional Level Director
DATE 2020
Abstract
This research aims to 1) study the current situation, desirable condition and
needs are needed to strengthen student leadership, 2) to develop a model and
assess the model enhancing student leadership Ban E - Teudonwaikamin School
Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1, under the Office of the
Basic Education Commission and 3) to study the effect of using the model for
enhancing student leadership Conducted in 3 phases: Phase 1 study the current
condition desirable conditions and needs are needed to strengthen student
leadership. Phase 2 Model development and preparation of a model manual for
enhancing student leadership and the phase 3 is the implementation of the student
leadership enhancement model and the satisfaction assessment. Student Leadership
Reinforcement Model Ban E - Teudonwaikamin School, Mahasarakham Primary
Educational Service Area Office 1 under the office Board of Basic Education The
results of the research can be summarized as follows.
The results of the research can be summarized as follows.
1. The results of the study of the present condition Desirable conditions
And needs are necessary to enhancing student leadership Ban E - Teudonwaikamin
School , Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 found that the
current condition in enhancing student leadership as a whole It was at a high level ( = 3.51, S.D. = 0.28), When considering each aspect, it was found that all aspects
were at a high level. Likewise, the side with the highest mean is the interpersonal
aspect ( = 3.61, S.D. = 0.30). Desirable in enhancing student leadership Ban E Teudonwaikamin School overall was at the highest level ( = 4.77, S.D. = 0.24). when considering each aspect It was found that all aspects were at the highest level as well. Interpersonala spect ( = 4.81, S.D. = 0.25) and the need needed to strengthen student leadership. Ban E - Teudonwaikamin School Maha Sarakham Primary Education Service Area Office 1, in order of need, are 1) human relations, 2) self- confidence, 3) honesty, 4) problem-solving skills, 5) sacrifice, 6) Responsibility and7) Leadership vision respectively.
2. The results of the development of a model for enhancing student
leadership Ban Ita Don School Wai Khamin, Maha Sarakham Primary Educational
Service Area Office 1, which was developed consists of There are 6 sections: 1) Principles 2) Objectives 3) Target groups 4) Content 5) Methods of operation and 6) Evaluation of the format and content scope, divided into 7 modules as follows: 1) Human relations 2) Self-confidence 3) Integrity 4) Problem solving skills 5) Sacrifice 6) Responsibility and 7) Leadership vision. results of suitability assessment Possibility of a model for enhancing student leadership Ban E - Teudonwaikamin School Maha
Sarakham Primary Educational Service Area Office, District 1 found that it was appropriate and feasible. at the highest level.
3. The effect of using the model in enhancing student leadership Ban E -
Teudonwaikamin School, Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1
found that
3.1 Students receiving student leadership development by using the
model of enhancing student leadership After strengthening student leadership, it was
higher than before, with a total score of 26.15, representing 83.86%, and passing the
criteria by 80%.
3.2 Students receiving student leadership development by using the
model of enhancing student leadership have behaviors that show leadership A total
assessment score of 6776 points out of a full score of 7956, with a total mean of
132.86, representing 85.17% and passing the criteria by 80%.
3.3 Students participating in student leadership enhancement activities
using a reinforcement model student leadership Overall, they were satisfied with the
student leadership enhancement model at a high level, with an average of 4.42.