ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนครบุรี
ผู้วิจัย นางสำเนียง พริ้งเพราะ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสอนนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนครบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้าสรรค์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้อง ซึ่งมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน มีคะแนนเฉลี่ยเป็นรายแผน มีค่าเท่ากับ 4.45 ถึง 4.60 และมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( =4.54) (S.D=0.58) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 - 0.76 และค่าความเชื่อมั่น 0.93 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้าสรรค์ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาการสอนนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนครบุรี พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ต่ำไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้
2. ได้รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทฤษฏีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ กระบวนการและขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศ องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้าสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ จากการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้าสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ด้วยกลวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้าสรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57)