บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ 3) ประเมินความพึงพอใจของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ภาคเรียนที่ 2 เป็นเด็กปฐมวัยปีที่ 1/2 มีจำนวนทั้งสิ้น 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 1 2) ชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน รวม 18 กิจกรรม 3) แบบประเมินความสามารถกล้ามเนื้อมัดเล็ก ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 1 จำแนกเป็น 3 ด้าน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบประเมินภาคปฏิบัติ โดยเด็กที่เข้ารับการประเมินต้องปฏิบัติจริงและตอบคำถามของผู้ดำเนินการประเมิน ซึ่งมีคำถามทั้งหมด 3 ชุด ชุดละ 3 ข้อ รวมทั้งหมด 9 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 9 ชุดที่ 1 ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก จำนวน 3 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อมัดเล็ก จำนวน 3 ข้อ ชุดที่ 3 ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
จำนวน 3 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์
แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการทดลองกับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นเวลา 11 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วันวันละ 20 นาที ระหว่างเวลา 10.00 -10.20 น. (รวมเวลาก่อนและหลังการประเมินความสามารถกล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนและหลัง
การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ) 3) สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวน การสืบเสาะ ร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 1 พบว่า
1) เด็กมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทุกขั้นตอน
2) เด็กกล้าแสดงออก สามารถสนทนาโต้ตอบ บอก สรุปเรื่องราวได้อย่างถูกต้องชัดเจน
3) เด็กรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม มีความสามัคคีกัน
4) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า เด็กปฐมวัยปีที่ 1 มีความสามารถความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แยกเป็นรายด้านได้ ดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเท่ากับ 2.38/4.69 2) ด้านความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อมัดเล็ก คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเท่ากับ 2.46/4.69 3) ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเท่ากับ 2.38/4.77
2. ผลการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นภาพรวมพบว่า เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน ค่าเฉลี่ยของการประเมินความสามารถกล้ามเนื้อมัดเล็ก สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ ร่วมกับชุดฝึกทักษะศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด