ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อ ส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวเยาวดี สีหะวงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยแต่ละห้องได้คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกันทั้งนักเรียนชายและหญิง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของนักเรียนส่วนใหญ่ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม จำนวน 6 แผน มีค่าเฉลี่ยเป็นรายแผนตั้งแต่ 4.50 ถึง 4.60 และมีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.58 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย ท23102 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ แบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.76 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy ) ตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.35/76.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 มีค่าเฉลี่ยด้านความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL PLUS วิชาภาษาไทย ท23102 เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71) (S.D = 0.59)