บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่าน
การเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ที่มีประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูภาษาไทย โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูภาษาไทย โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทยครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนและ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูภาษาไทย นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 32 คน ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 160 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 160 คน
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 แบบสอบถาม แบบประเมินและแบบทดสอบ รวมจำนวน 17 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าประสิทธิภาพของคู่มือ E1/E2 ค่าความเชื่อมั่น KR 20 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α-Coefficient) และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 พบว่า
1.1 ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/81.35 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการพัฒนาครูภาษาไทย โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 แบ่งเป็นด้านต่างๆ พบว่า
2.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูภาษาไทยก่อนและหลังการศึกษาคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูภาษาไทย ก่อนและหลังการศึกษาคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า ครูภาษาไทยมีความรู้ความเข้าใจก่อนการศึกษาคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการศึกษาคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียนครูภาษาไทยมีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการเปรียบเทียบการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนให้กับนักเรียนก่อนและหลังการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า ครูภาษาไทยสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนให้กับนักเรียน ก่อนการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่หลังใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน ครูภาษาไทยสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนให้กับนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ผลการเปรียบเทียบการประเมินครูภาษาไทยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านการเขียน โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า ครูภาษาไทยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านการเขียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน ก่อนการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน ครูภาษาไทยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านการเขียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
2.4.1 ด้านการเตรียมการสอน ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
แต่หลังการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.4.2 ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.4.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้น ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการใช้คู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4.5 ด้านการประเมินผล ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.4.6 ด้านการประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียน ก่อนการใช้คู่มือโดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการใช้คู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการศึกษาการพัฒนาครูภาษาไทย โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน สำหรับครูภาษาไทย ครูและผู้ปกครองช่วยสอนอ่านเขียน : นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่านการเขียน
ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการเปรียบเทียบความตระหนักของนักเรียนที่มีต่อการอ่านการเขียนก่อน
และหลังการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า นักเรียนมีความตระหนักต่อการอ่านการเขียน ก่อนการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน นักเรียนมีความตระหนักต่อการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนด้านการอ่านการเขียน ก่อน ระหว่าง
และหลังการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน พบว่า
3.3.1 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการอ่านการเขียน ก่อนการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย
3.3.2 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการอ่านการเขียน ระหว่างการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
3.3.3 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการอ่านการเขียน หลังการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจผู้บริหารโรงเรียน ครูภาษาไทย นักเรียน
และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า
4.1 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อครูภาษาไทยในการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านการเขียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.4 ความคิดเห็นของครูภาษาไทยที่มีต่อคู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจของครูภาษาไทยที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน
การเขียนของนักเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.6 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่าน
การเขียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.7 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อครูภาษาไทยที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.8 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการทบทวนสอนอ่านเขียนให้กับนักเรียน โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.9 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อความสามารถในการอ่านการเขียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด