การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนพอเพียง เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้เรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการ 4A Model โดยจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน และใช้หลักของศาสตร์พระราชา คือ การเข้าใจ (Analysis) เข้าถึง (Accessibility) พัฒนา (Activity) และการชื่นชมความสำเร็จของผู้เรียน (Admire) ผลการดำเนินงาน พบว่า
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
1. นักเรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจเต็มตามศักยภาพ และได้รับรางวัลการแข่งขันทางวิชาการ ในระดับต่างๆ
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อตนเองและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคม
4. นักเรียนมีทักษะอาชีพ และเห็นคุณค่าของการมีงานทำมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
5. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นตนเอง สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
6. นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน รู้จักเสียสละในการช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
ผลที่เกิดกับครู
1. ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนรายบุคคล
3. ครู มีการถ่ายทอด เทคนิค วิธีการ ที่หลากหลาย เสียสละ อดทน มุ่งมั่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดกิจกรรมการสอน
4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ผลที่เกิดกับผู้บริหาร
1. ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการยอมรับ จากคณะกรรมการสานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ผู้บริหารให้การสนับสนุนในการจัดหา สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาด้วยความหลากหลาย
3 นำข้อมูลสารสนเทศ ผลของการประเมินโครงการมาใช้วางแผน เพื่อปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. นำเทคโนโลยีมาใช้ สนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1. โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่น ความไว้วางใจในการจัดการศึกษา จากชุมชน
2.ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วน
3. ได้รับการสนับสนุน ทรัพยากรด้านต่างๆจากหน่วยงานทางการศึกษา ท้องถิ่น เอกชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพตามหลักสูตรสถานศึกษามากขึ้น
4. เกิดความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาในการวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง