ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง ปีการศึกษา 2562
สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษานครนายก
ผู้รายงาน นายวุฒิชัย พันธุ์งาม ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง
หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
ปีที่รายงาน 2563
สรุปผลการการศึกษา
การการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมืองปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 17 คน กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 คน นักเรียน จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทำการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
จากการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ผู้ประเมินสรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ระดับความคิดเห็นของครู และบุคลากรทางการศึกษา ในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ผลการศึกษา พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.31 อยู่ในระดับ มาก โดยมี ด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.52 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 อยู่ในระดับ มาก ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 4.21 อยู่ในระดับ มาก โดยมี ผลการประเมินแยกเป็นรายด้าน ดังนี้
1.1 ด้านสภาพวะแวดล้อม พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมี วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน วัตถุประสงค์ของโครงการนำไปสู่การปฏิบัติได้ ผู้บริหาร บุคลากร นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาโครงการช่วยปลูกฝังคุณธรรมแก่นักเรียนได้ โรงเรียนมีการให้ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับ มากที่สุด และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของ โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ วัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ มีความสอดคล้องและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 4.20 อยู่ในระดับ มาก
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.28 อยู่ในระดับ มาก มีการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากชุมชน บุคลากร หรือหน่วยงานเอกชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ สถานที่ ที่ใช้ดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับ มากที่สุด และวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมฐานบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระ มีความเหมาะสม กิจกรรมของโครงการ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน รูปแบบของการจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.80 อยู่ในระดับ มาก
1.3 ด้านกระบวนการ พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.26 อยู่ในระดับมาก โดยมีมีการจัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาสู่การเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานตามโครงการ ครบถ้วนทุก กิจกรรม และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมามีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับ มากที่สุด และการกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจน สาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการมีความชัดเจนปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.60 อยู่ในระดับ มาก
1.4 ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับ มาก โดยมี ผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง สามารถจัดการเรียนรู้ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนเป็นผู้มีวินัยใฝ่เรียนรู้และมีจิตอาสา นักเรียนมีความสุข มีความภูมิใจในการฝึกฝนตนเอง ให้เป็นผู้มี ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน นักเรียนมีทักษะการอ่าน กระบวนการคิด และค้นหาความรู้ด้วยตนเอง นักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษาให้ความสำคัญด้านการอ่านหนังสือในห้องสมุด นักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษามีทักษะในการพัฒนาจิตใจด้วยหลักพุทธศาสตร์ไตรสิกขา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมานักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดและถั่วงอกและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับ มากที่สุด และผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้นักเรียนตอบคำถามและเกิดการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากันเท่ากับ 3.60 อยู่ในระดับ มาก
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 4.27 อยู่ในระดับ มาก โดยนักเรียนมีความสุข มีความภูมิใจในการฝึกฝนตนเอง ให้เป็นผู้มี ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมานักเรียนมีเจตคติที่ดีและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษาให้ความสำคัญด้านการอ่านหนังสือในห้องสมุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากันเท่ากับ 4.56 อยู่ในระดับ มากที่สุด และผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้นักเรียนตอบคำถามและเกิดการเรียนรู้ บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับ มาก
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเหมือง ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.12 อยู่ในระดับ มาก โดยโรงเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผักสวนครัวและสมุนไพรท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมานักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดและถั่วงอกและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.35 อยู่ในระดับ ปานกลาง
4. ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามฉบับที่ 1 สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 ฉบับ ผู้ตอบแบบสอบถาม เขียนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั้งสิ้นจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ดังนี้
4.1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความเห็นด้วยในการจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงได้พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย ควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
4.2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า ควรมีการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการประจำปีเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการในปีต่อไป
4.3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม โครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเห็นว่า ควรมีการจัดทำสื่อวีดีทัศน์หรือวิดีโอ นำเสนอโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนเผยแพร่ต่อสาธารณะ
5. ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน จำนวน 17 ฉบับ ไม่มีผู้ตอบแบบสอบถาม เขียนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
6. ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามฉบับที่ 3 สำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 17 ฉบับ ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ทั้งสิ้นจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 17.65 ดังนี้
6.1. ผู้ปกครองนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรมที่ดี ฝึกให้นักเรียนโครงการส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อครู นักเรียนและชุมชน อยากให้โครงการมีความยั่งยืน ประเมินและสอบถามผู้ปกครอง ชุมชน อย่างสม่ำเสมอ
6.2. ผู้ปกครองนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่า มีการปรับปรุงพัฒนาความประพฤติของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น
6.3. ผู้ปกครองนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่า อยากให้ปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เช่น มีต้นไม้ ดอกไม้ ต้นเล็ก ๆ ปรับปรุงพัฒนาห้องน้ำ ห้องส้วม ให้ดียิ่งขึ้น