ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง)
ผู้ประเมิน สมศักดิ์ อาแว ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ระยะที่ 2 ออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 79 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 4) แบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ซึ่งแบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย มีความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
จากการระดมพลังสมองของครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรง ที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริง ผู้วิจัยได้นวัตกรรมทางปัญญา อันเป็นข้อสรุปผลจากการยกร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) กล่าวคือ BANSINETONG
BANSINETONG Model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและในแหล่งเรียนรู้รอบโรงเรียน ประกอบด้วย
B : Brainstorm (การระดมความคิด)
A : Attention (ความสนใจ , ความใส่ใจ)
N : Natural learning resources (แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ)
S : Sufficiency Economy (เศรษฐกิจพอเพียง)
I : Identity (เอกลักษณ์ในท้องถิ่นและชุมชน)
N : Neighborhood (แหล่งเรียนรู้หรือสถานที่รอบโรงเรียน)
E : Effectively (อย่างมีประสิทธิภาพ)
T : Teaching management (การจัดการเรียนการสอน)
O : Opportunity (เปิดโอกาส)
N : Notable (บุคคลโดดเด่นในชุมชน)
G : Goal (เป้าหมาย)
โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สำหรับความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียน เทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน
จากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า
ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) ทั้งโดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School : LSS) ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก