ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้.
สุธาสินี วรรณภาส.2563.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ในวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70ของคะแนนเต็ม
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนกัลยาณวัตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการ จำนวน 9 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสังเกตการสอนของครูผู้ร่วมวิจัย แบบบันทึกผล การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ และใบงาน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูงด้านความคิดวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้บันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการสอนของครูผู้ร่วมวิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ และใบงานของนักเรียนใช้สังเกตกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ นำผลมาสะท้อนการปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปรายร่วมกันกับครูผู้ร่วมวิจัย เพื่อปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมการเรียนรู้ ในแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทักษะการคิดคิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการ โดยมีจำนวนนักเรียน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการ โดยมีจำนวนนักเรียน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ความรอบรู้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
Suthasinee Wannapas. 2020. The Development of Higher-ordered Thinking Skills part of analytical thinking and Learning Achievement in Biology science of Genetic and developement of Mathayomsuksa IV Student Using Inquiry Instructional Process.
ABSTRACT
The purposes of the present action research were 1) to enhance the student,s learning achievement in the Biology science of Genetic and development so as to make at least 70% of the students pass the 70% passing criterion, and 2) to develop grade-10 student ,s higher-ordered Thinking Skills part of analytical thinking in the Biology science of Genetic and developement so as to make at least 70% of the students pass the 70% passing criterion.
The target group consisted of 49 grade-10 student in Kanlayanawat School under the Office of the basic education commission ministry of Education during the first semester of the 2020 acadamic year.
Three sets of tools were used for the study. The first set of experimental tools consisted of 9 lesson plans , based on inquiry instructional process, for the the Biology science of Genetic and development The second set of data collecting and reflection tools consisted of a learning behavior observation form , a teaching behavior observation form , a teacher ,s diary , a student interview form , end-of-lesson tests , and student worksheets. The third set of evaluation tools consisted of a learning achievement test in the the Biology science of Genetic and development which had a reliability of 0.98 and a higher-ordered thinking skills part of analytical thinking test which had a reliability of 0.95.
Action research procedure was employed in the student. The data were collected by means of the researcher herself keeping a record of the outcome of instructional activities in her diary . Her teaching behavior was observed by her research assistant. The students were interviewed for their opinions about the activities. The students were given a test at the end of each lesson plan and from the student ,s worksheets. Also at the end of of each lesson plan the students were administered another test for the purpose of evaluating their progress.
These reflective data were then analyzed by the researcher and her assistant for the purpose of adjusting instructional activities to be used for the next lesson plan. The data were analyzed by means of percentage , arithmetic mean , standard deviation and then reported in form of descriptive essay.
The findings:
1. On the matter of the development of higher-ordered thinking skills part of analytical thinking in the the Biology science of Genetic and development it was found 48 or 80.34 % of the students passed the prescribed passing criterion of 70 % of the full marks.
2. On the matter of learning achievement in the the Biology science of Genetic and development it was found that 48 or 83.95 % of the students passed the prescribed passing criterion of 70 % of the full marks.