1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 หมวดที่ 4 ซึ่งเป็นทิศทางของกระบวนการจัดการศึกษาของชาติทุกระดับ สำหรับเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดซึ่ง มาตรา 22 บัญญัติว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาพูดจนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ บัญญัติว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาพูดจนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพและ มาตรา 24 บัญญัติว่าในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกใช้ทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ใช้ความรู้มาเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆอย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศรวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2545:2-7)
สภาพการจัดการเรียนการสอนปัจจุบันประสบปัญหาไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสาเหตุหนึ่งคือครูยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอน เน้นการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหามากกว่าการจัดกระบวนการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงค้นหาคำตอบช่วยตัวเอง นอกจากนี้ครูอาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียนเป็นศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลหากแต่ทำการวัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการสอนเพื่อนำผลการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนแนะนำความรู้ความจำมากกว่าทักษะการทำงาน (มนตรี ม่วงวงษ์ 2555:1)
การนิเทศการศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหน่วยงานทุกระดับ ดังนั้นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารก็คือ การนิเทศโดยเฉพาะการนิเทศการสอนของครูให้มีการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์การนิเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในบางครั้งเธอจะได้ใช้ความสามารถในการจัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้แล้วก็ตาอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดตกบกพร่องทำให้การสอนขาดความสมบูรณ์ดังนั้น ก็ย่อมเกิดผลดีการนิเทศจึงเปรียบเสมือนกระจกงานที่คอยสอนให้เห็นชอบการสอนของครูและเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษา การสร้าง สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยังสร้างความตระหนักให้ครูถึงปัญหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สอนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกันเป็นอย่างดีภายใต้ระบบการบริหารงานของโรงเรียนเพื่อควบคุมมาตรฐานและพัฒนางานด้านการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียนสามารถปฏิบัติงานในขอบเขตที่ตนเองรับผิดชอบประสบผลสำเร็จเป็นไปตามมาตรฐานและสอดคล้องกับระเบียบวิธีการดำเนินงานที่กำหนดไว้การนิเทศภายในโรงเรียนจึงเป็นยุทธวิธีที่ผู้เกี่ยวข้องควรหาแนวทางดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนบ้านบางหยด พบว่าผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ประจำปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าโรงเรียนบ้านบางหยดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านการคำนวณและด้านเหตุผลต่ำกว่าระดับประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O - NET) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต่ำกว่าระดับประเทศ กลุ่มสาระภาษาไทยมีสาระที่โรงเรียนควรเร่งรัดพัฒนาต่อเนื่องคือ หลักการใช้ภาษาไทย และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสาระที่โรงเรียนควรเร่งรัดพัฒนาต่อเนื่อง คือ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก ดังนั้นทางโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศภายในจึงได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบและระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
2. จุดประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงาน
2.1 จุดประสงค์ของกรดำเนินงาน
2.1.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตรของโรงเรียนบ้านบางหยด
2.1.2 เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
2.2.1เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านบางหยด จำนวน 7 คน
2) นักเรียนโรงเรียนบ้านบางหยดทุกคน
2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 วิชาหลักในระดับ 3 ขึ้นไป
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตนเองอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100
5) โรงเรียนได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่างๆในการช่วยเหลือแลพัฒนานักเรียนเพิ่มขึ้น
3. กระบวนการผลิตงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
ผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางหยด คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดประชุมเพื่อรับทราบนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 “ปีทองของการนิเทศภายในสถานศึกษา” ทางโรงเรียนได้นำมาใช้ในการบริหารเพื่อมุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน โดยการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร มี 4 ขั้นตอน คือ ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิดใจ
1. ให้ใจ
1.1 มีการประชุมวางแผนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนในการนิเทศภายใน
1.2 ร่วมกันจัดทำแผนการนิเทศภายในโรงเรียน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมจัดทำคู่มือ และเครื่องมือการนิเทศภายในโดยการมีส่วนร่วม
2. ร่วมใจ
2.1 นิเทศโดยการประชุม - แต่ละเดือนจะมีการประชุมครูประจำเดือน เดือนละ 3 ครั้ง เพื่อให้การนิเทศ ทุกวันจันทร์ เวลา 14.30 น.เป็นต้นไป เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย - ฝ่ายบริหารโดยผู้อำนวยการ และหัวหน้าวิชาการ เข้าร่วมประชุมกับครูประจำชั้นทุกชั้น เพื่อให้แนวคิด และรับฟังความคิดเห็นของครู ร่วมแก้ปัญหากับครูประจำชั้นทุกชั้น
2.2 ผู้สอนจับคู่กับครูวิชาเอกเพื่อเป็นคู่นิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ในรูปแบบการนิเทศทั้งหลาย การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร เป็นวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยครูในกลุ่มวิชาเอกกับครูประจำชั้น จะจับคู่เพื่อเป็นคู่นิเทศที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสังเกตการสอน ให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการเรียนกาสอน อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดบรรยากาศ ในการทำงานที่อบอุ่น จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรัก ความจริงใจ และความร่วมมือในองค์กร ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุผลตามนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน
3. ตั้งใจ
3.1 ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ หลังจากที่ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาไปแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าครูจะนำหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมครูทุกคนจะได้รับการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้จากคณะกรรมการนิเทศ
3.2 ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 วิชาหลักในระดับ 3 ขึ้นไป เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ทางโรงเรียนได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกรายวิชา เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา วิเคราะห์หาผลความก้าวหน้าที่ได้จากกระบวนการนิเทศภายใน
3.3 ตรวจสอบผลการทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2562 เพื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 โดยการวิเคราะห์ผลความก้าวหน้าที่ได้จากกระบวนการนิเทศ
3.4 ตรวจสอบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 เพื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 โดยการวิเคราะห์ผลความก้าวหน้าที่ได้จากกระบวนการนิเทศ
4. เปิดใจ
4.1 วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อน จุดแข็งในดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาในวงรอบต่อไป
4.2 สรุปปัญหาอุปสรรค หลักจากการดำเนินงานแล้วเสร็จ ทางโรงเรียนได้จัดให้มีการสรุปสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานเพื่อวางแผนแก้ไขพัฒนาต่อไป
4.3 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์แนวทาง การพัฒนาต่อเนื่อง และเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป
จากรายละเอียดที่แสดงถึงขั้นตอนการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปเป็นแผนภูมิขั้นตอนการดำเนินงาน ได้ดังนี้
แผนภูมิขั้นตอนการดำเนินงานกระบวนการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตรโรงเรียนบ้านบางหยด
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการบริหารจัดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตรของโรงเรียนบ้านบางหยด สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
4.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
1. นักเรียนผ่านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละ 100
2. นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน
3. นักเรียนมีผลการประเมินระดับชาติ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าระดับประเทศ 3 วิชา ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ
4.2 ผลที่เกิดครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น การเป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนในการแข่งขันทักษะทางวิชาการในงานศิลปหัตถกรรมทางการศึกษา ครั้งที่ 69 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
1. นางสาวอรวรรณ สิทธิวงษ์ รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดมารยาทไทยชั้น ป.1-ป.3
รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดมารยาทไทยชั้น ป.4-ป.6
2. นายสุวรรณรัตน์ ช่วยยิ้ม รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ ป.4-6
3. นางชนัดดา อมรชาติ รางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน ปฐมวัย
4. นางผิวพรรณ นวลวิจิตร รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดเพลงคุณธรรม ป.1-3
รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดเพลงคุณธรรม ป.4-6
4.3 ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
1. โรงเรียนบ้านบางหยดได้รับการยอมรับจาก สพป. สุราษฎร์ธานี เขต 3 จากรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 ปรากฏว่า โรงเรียนบ้านบางหยด มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในลำดับที่ 3 ของเขตพื้นที่การศึกษาฯ และอยู่ในลำดับที่ 1 ของอำเภอพระแสง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
1. ครูนิเทศ เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอทางด้านวิชาการ
2. การนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร หรือเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้ครูในโรงเรียนเกิดความสบายใจในสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่
3. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญในกระบวนการนิเทศภายใน และเข้ามามีบทบาทในการนิเทศอย่างจริงจัง ทำให้ครูในโรงเรียนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ
4.การได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
การนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตรด้วยบุคลากรภายในโรงเรียนเอง เป็นกระบวนการพัฒนาและแก้ปัญหาตรงประเด็นมากที่สุด เนื่องจากบุคลกรภายในจะมีความเข้าใจในบริบทของโรงเรียน และข้อจำกัดของเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี ดังนั้นกระบวนการพัฒนาจึงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษา ที่เน้นโรงเรียนเป็นฐาน และสอดคล้องกับภารกิจการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
8. เงื่อนไขความสำเร็จ
1. โรงเรียนต้องบริหารจัดการตนเองให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น มีอิสระในการวางแผน ปฏิบัติ พัฒนาและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
2. โรงเรียนต้องสร้างความเชื่อถือศรัทธาจากผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติจริงตามกระบวนการ และบทบาทอย่างเป็นรูปธรรม โดยอาศัยการนิเทศกำกับติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
4. โรงเรียนต้องมีระบบการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานและสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน