การนิเทศการศึกษาหรือการนิเทศการสอนนั้น สามารถดำเนินการได้หลายวิธี โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ได้ปรับใช้ทฤษฎีการนิเทศ คือ การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ การนิเทศแบบสนับสนุน และการนิเทศภายในโรงเรียนในการนิเทศภายใน โดยตะหนักถึงแนวคิดที่ว่า การนิเทศเป็นกระบวนการที่ครูร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน โดยการเรียนรู้วิธีการคิดและการกระทำใหม่ๆ ซึ่งผู้นิเทศจะต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อใจครู ขณะเดียวกันครูก็ต้องเชื่อใจผู้นิเทศในเรื่องที่ว่าผู้นิเทศจะใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาช่วยครูให้สามารถช่วยปรับปรุงและพัฒนางานของตนเอง แลกเปลี่ยนกันให้ข้อมูล ย้อนกลับจากการสังเกตการสอนกันและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บนพื้นฐานความเป็นมิตรที่ดีต่อกับความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนระหว่างผู้นิเทศและครู ความเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนดีขึ้น และเพื่อปรับปรุงความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเอง ดำเนินการตาม THAPAE MODEL
วิธีดำเนินการ
การรายงานผลการนิเทศการสอนครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนใน THAPAE MODEL ดังนี้
1. TH = THEME การกำหนดสาระสำคัญของการนิเทศ
2. A = ASSIGNMENT การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
3. P = PLANNING การวางแผนงาน
4. A = ACTION การปฏิบัติตามแผนงาน
5. E = EVALUATION การประเมินผลการนิเทศ
1. TH = THEME การกำหนดสาระสำคัญของการนิเทศ
ในการนิเทศภายในของการจัดการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ได้กำหนดสาระสำคัญของการนิเทศ โดยดำเนินการเป็นลำดับดังนี้
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยหัวหน้างานหลักสูตรฯได้ดำเนินการให้ครูผู้สอนปรับปรุง
หลักสูตรการสอน คำอธิบายรายวิชา รหัสวิชา โครงสร้าง เป็นต้น ให้สอดคล้องกับแนวทางที่สพฐ.กำหนด
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด ในรายวิชาพื้นฐาน โดยจำแนกเป็น KPA
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยจัดทำ และหรือพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
คำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียนบริบท ของสถานศึกษาและท้องถิ่น มีกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกัน
การจัดทำโครงการสอน โดยครูทุกท่านจัดทำโครงการสอนในรายวิชาที่ตนเองสอนเพื่อ
เป็นแนวทางในการสอนของตนเอง ทุกรายวิชา ซึ่งจะประกอบด้วย ขอบข่ายของเวลา ตัวชี้วัด ภาระงาน/ชิ้นงาน วิธีวัดและประเมินผล โดยจำแนกเป็น คะแนนก่อนวัดผลกลางภาค คะแนนกลางภาค และปลายภาค ตามสัดส่วนคะแนนในหลักสูตรฯ
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ คนละอย่างน้อย 1 รายวิชา ให้เป็นไปตามรูปแบบที่
โรงเรียนกำหนด มีเทคนิค วิธีการสอน กระบวนการสอน ที่หลากหลาย ทั้งนี้ให้หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ เป็นผู้ตรวจทานและประเมินแผนการจัดการเรียนรู้
สรุป การนิเทศภายในของ โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2563 สาระสำคัญของการนิเทศ คือ การดำเนินการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้อง ตามแนวทางที่สพฐ.กำหนด ตั้งแต่การปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ไปจนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ครูผู้สอน สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นและครูจัดการเรียนรู้ได้ตรงตามตัวชี้วัดมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา การวัดและประเมินผลไม่ตรงตามตัวชี้วัด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. A = ASSIGNMENT การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ คำสั่งโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ที่ 220/2563 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ราชการ ปีการศึกษา 2563 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) สั่ง ณ วันที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563
ข้อ 12 งานนิเทศภายใน วิจัย และนวัตกรรม
นางจารุวดี ขวัญศรีสุทธิ์ หัวหน้างาน
นางนงนาถ มัจฉา ผู้ช่วย
นางอังคณา ศุภพงศกร ผู้ช่วย
นางสาวสาลีนี พรหมมาน ผู้ช่วย
นายวิรัช พิพัฒน์วรสกุล ผู้ช่วย
นายปราโมทย์ มุกดา ผู้ช่วย
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
สร้างความตระหนักให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจกระบวนการนิเทศภายในว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของกระบวนการบริหาร เพื่อให้ทุกคนเกิดความเชื่อมั่นว่าได้ปฏิบัติถูกต้อง ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและตัวครู
จัดการนิเทศภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงและต่อเนื่องเป็นระบบ
จัดระบบนิเทศภายในสถานศึกษาให้เชื่อมโยงกับระบบนิเทศการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด
กำหนดแนวทางการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูและ
กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ดำเนินการพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็น
สำคัญในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด การจัดการ การหาเหตุผลในการตอบปัญหา และการเรียนรู้ในปัญหาที่ตนสนใจ
ดำเนินการให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัย
ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม รวบรวม เผยแพร่ผลการวิจัยสู่สาธารณชน และส่งเสริมให้นำผลงาน
การวิจัยไปแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
3. P = PLANNING การวางแผนงาน งานนิเทศภายใน โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ มีแผนการดำเนินการ
4. A = ACTION การปฏิบัติตามแผนงาน
4.1 วิธีดำเนินการนิเทศการสอนของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเข้านิเทศและให้คำแนะนำในกระบวณการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มสาระฯ โดยเป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
ต่างเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนางานและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
4.2. การให้คะแนน ผู้นิเทศจะให้คะแนนผู้รับการนิเทศตั้งแต่ 1 5 ตามระดับที่มีการปฏิบัติตามความเป็นจริง เกณฑ์การให้คะแนนการนิเทศการเรียนการสอน แล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์จากมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย ความหมาย
4.51-5.00 ดีมาก
3.51-4.50 ดี
2.51-3.50 พอใช้
1.51-2.50 ควรปรับปรุง
1.00-1.50 ไม่ผ่าน
4.3 ขั้นรวบรวมและรายงานผลการดำเนินการ
4.3.1 รวบรวมผลการนิเทศการสอนจากคณะกรรมการ
4.3.2 นำผลการนิเทศมาวิเคราะห์ และรายงานผล โดยทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
4.4 สถิติที่ใช้ในการรายงานผล
4.4.1 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) คำนวณจากสูตรดังนี้
X ̅ = (∑▒X)/N
เมื่อ X ̅ แทน ค่าเฉลี่ย
∑▒X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนสมาชิกทั้งหมดในกลุ่ม
4.4.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คำนวณจากสูตรดังนี้
S.D.= √((N∑▒〖X^2-〖(∑▒〖X)〗〗^2 〗)/(N(N-1)))
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนแต่ละตัว
N แทน จำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้น
5. E = EVALUATION การประเมินผลการนิเทศ
ในการนิเทศการสอนของครู โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2563สามารถประเมินและรายงานผลการนิเทศตามลำดับดังนี้
5.1 รายงานผลการนิเทศเป็นรายบุคคล
5.2 รายงานผลการนิเทศเป็นรายด้าน
ผลการนิเทศเป็นรายด้านการสอนของครู โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 14 ด้าน ระดับคุณภาพดี 3 ด้าน ด้านอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก สูงสุด ที่ 4.98 คือ ข้อที่ 1.1 การตรงต่อเวลา 1.2 การควบคุมความเป็นระเบียบในชั้นเรียน และ ด้านอยู่ในระดับคุณภาพดี น้อยสุด ที่ 4.40 คือ ข้อที่ 3.2 การสอดแทรกความรู้ทั่วไปและคุณธรรม จริยธรรม