บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องงานวิจัย การศึกษาปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะ
ของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
ชื่อผู้ศึกษา นางณัฏฐวรรณ ศรีวิจารณ์
ปีที่พิมพ์ 2564
การศึกษาปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผู้ศึกษาได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัญหา
การดำเนินงานการส่งเสริมจิตสาธารณะนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรีขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูสายการสอน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบสอบถามการศึกษาปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นของแนวทางการส่งเสริม จิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี และ 3) แบบประเมินผล การดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร (σ)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (μ) เท่ากับ 4.40
2. ผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี พบว่า แนวทางในการวางแผน การดำเนินการ
การประเมินผล ตรวจสอบ รวมถึงการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินการในการส่งเสริม
จิตสาธารณะของผู้เรียนในสถานศึกษา ด้านการมีจิตสาธารณะ สรุปได้ว่า มี 6 แนวทาง ได้แก่
1) ควรปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความกลัวต่อบาป สร้างศรัทธาในการทำความดี 2) ควรจัดทำโครงการ การส่งเสริมจิตสาธารณะให้กับผู้เรียนในสถานศึกษา โดยบรรจุในแผนปฏิบัติการให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาสถานศึกษา เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะความมีจิตสาธารณะให้เกิดกับผู้เรียน โดยผ่าน การจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยความเคยชิน เป็นตัวตน อัตลักษณ์ของผู้เรียน 3) ครูประจำวิชาและครูที่ปรึกษาควรสอดแทรกคุณลักษณะกับผู้เรียนด้านจิตสาธารณะในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมโฮมรูม หรือกิจกรรมอื่น ๆ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดการประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนัก ให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับจิตสาธารณะ 5) ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ควรจริงจังในการพัฒนาจิตสาธารณะของผู้เรียน ในสถานศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งต่อไปถึงระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไป และ 6) การประเมินผล ตรวจสอบ และแก้ไขปรับปรุง ควรประเมินความสำเร็จของกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะ ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามผลของการบรรลุเป้าหมาย โดยกลุ่มที่มีปัญหามากควรแก้ไขปรับปรุง ส่วนกลุ่มผู้เรียนที่ดีอยู่แล้ว พัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
3. ผลการประเมินการดำเนินงานส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (μ) เท่ากับ 4.07